สมัยนี้ใครๆ ก็นิยมใช้เกียร์ออโต้กันมากขึ้น ด้วยความสะดวกสบายที่ไม่ต้องเหยียบคลัตช์และปรับเกียร์เอง ไม่ต้องกลัวรถดับเวลาขึ้นสะพาน ไม่ว่ามือใหม่ก็ขับได้ง่ายๆ และยิ่งตอนนี้มีการพัฒนาเกียร์ออโต้ให้เมาะสมกับการใช้งานที่หลากหลาย เรามาดูกันว่า Gear Auto มีกี่ประเภท
เกียร์ออโต้แบบ Torque Converter
เกียร์ออโต้แบบ Torque Converter เป็นชุดเกียร์ในยุคเริ่มแรกที่มีการใช้งานเกียร์อัตโนมัติ ดังนั้น ในการทำงานของเกียร์ประเภทนี้จะเป็นการใช้ของเหลวหรือ น้ำมันเกียร์ เป็นตัวส่งถ่ายพลังงานในการเปลี่ยนเกียร์ ทดแทนการใช้คลัทช์ในระบบเกียร์ธรรมดา โดยจะส่งผ่านของเหลวไปยังชิ้นส่วนที่มีลักษณะใบพัดทำหน้าที่หมุนเหมือนกังหันแล้วแปลงเป็นพลังงาน ซึ่งจะมีชิ้นส่วนชิ้นหนึ่งเชื่อมกับเพลาข้อเหวี่ยงที่ติดกับเครื่องยนต์ และอีกชิ้นหนึ่งติดกับเกียร์ ข้อดีคือ มีการทำงานที่ไม่ซับซ้อน ดูแลง่าย และทนต่อแรงบิดสูงๆ ได้ดี มักใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลเป็นส่วนใหญ่ ข้อเสียก็คือ เกียร์มีน้ำหนักมาก กินพลังงานเยอะกว่าเกียร์ประเภทอื่น
Gear Auto มีกี่ประเภท CVT (Continuously Variable Transmission)
gear auto ประเภทนี้ เป็นประเภทที่รถยนต์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้อยู่มาก เนื่องจากความนิ่มนวลในการเปลี่ยนเกียร์ ทำให้เวลาขับรถไม่รู้สึกถึงแรงกระชากหรือกระตุกตอนที่เกียร์เปลี่ยน หลักการทำงานของเกียร์ CVT คือ มีการแปลงอัตรากำลังทดที่ส่งมาจากเครื่องยนต์ ทำงานร่วมกับพูลเลย์ 2 ตัว ตัวหนึ่งต่อกับเครื่องยนต์ อีกตัวต่อกับเพลาขับ ทำงานผ่านสายพานต่อเนื่องกันไปตามอัตราเร่งและรอบเครื่อง โดยเกียร์ออโต้ CVT จะเหมาะกับรถยนต์ที่ใช้งานปกติ ต้องการการขับขี่ที่นุ่มนวล นั่งสบาย แต่อาจไม่เหมาะกับคนที่ชอบรถเร็วๆ แรงๆ เพราะเกียร์จะไต่ระดับช้าไม่ทันใจ
เกียร์ออโต้ แบบคลัทช์คู่ DCT (Dual Clutch Transmission)
เกียร์ออโต้แบบคลัทช์คู่ DCT มีการตอบสนองการทำงานที่ให้ความรู้สึกเหมือนกับขับเกียร์ธรรมดา โดยใช้ไฟฟ้ามาช่วยทำงานในส่วนของคลัทช์เหมือนเกียร์กึ่งอัติโนมัติ และมีการทำงานที่รวดเร็ว มักนำไปใช้งานกับรถยุโรปที่เป็นแนวสปอร์ต ที่ต้องการความรวดเร็วทะมัดทะแมงในการขับขี่ โดยหลักการทำงานของเกียร์คลัทช์คู่ คือ คลัทช์ชุดแรกทำหน้าที่ส่งกำลังทั่วไป และคลัทช์ชุดที่สองทำหน้าที่ในการเปลี่ยนอัตราทดให้รวดเร็วและแม่นยำ ข้อดีของเกียร์ DCT คือมีความรวดเร็วแม่นยำ และยังนุ่มนวล เหมาะกับการวิ่งเร็วในระยะทางยาวๆ แต่ข้อเสียก็มี เวลาเข้าเกียร์ D จะมีความหน่วงหรือกระตุก ไม่เหมาะกับการขับขี่ในเมืองที่ต้องจอดและออกตัวบ่อยๆ และการทำงานของคลัตช์คู่จะมีความซับซ้อน ค่าบำรุงรักษาจะสูงกว่าเกียร์แบบอื่น
เกียร์กึ่งอัตโนมัติ AMT (Automated Manual Transmissions)
เกียร์ AMT หรือกึ่งอัตโนมัติ มีระบบการส่งกำลังเหมือนกับเกียร์ธรรมดา แต่การทำงานอื่นๆ เหมือนกับเกียร์อัตโนมัติ คือเวลาขับขี่ไม่ต้องเปลี่ยนเกียร์เองเหมือนกับเกียร์ธรรมดา แต่อาจใช้เวลาในการเปลี่ยนเกียร์มากกว่าเกียร์อัตโนมัติบ้างเล็กน้อย แต่เกียร์ประเภทนี้มีข้อดีคือสามารถส่งกำลังได้อย่างเต็มที่ ขับขี่สบาย ประหยัดพลังงาน และดูแลรักษาง่าย ข้อเสียคือ เมื่ออยู่ในความเร็วต่ำจะมีการตอบสนองช้า ส่วนใหญ่จะใช้กับรถเก๋ง หรือรถ SUV แต่ก็มีไม่มากนัก