ทางด่วนแต่ละประเภท ต่างกันอย่างไร?

ทางด่วนแต่ละประเภท ต่างกันอย่างไร?

ทางด่วนแต่ละประเภท ต่างกันอย่างไร? ผู้ใช้รถใช้ถนนส่วนใหญ่อาจยังไม่รู้ว่า ทางด่วน โทลเวย์ มอเตอร์เวย์ ที่เราใช้เดินทางกันอยู่บ่อยๆ มีความแตกต่างกันอย่างไร ทำไมค่าผ่านทางไม่เท่ากัน และแต่ละเส้น แต่ละด่าน ทำไมมีชื่อเรียกที่ต่างกัน น้องยูคอน จะมาไขข้อข้องใจให้ทุกๆคนครับ

ทางด่วนแต่ละประเภท

ทางด่วนแต่ละประเภท ต่างกันอย่างไร?

ทางด่วน (Expressway)

ทางด่วน คือ ทางพิเศษที่ดูแลโดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ซึ่งประกอบไปด้วย

  • ทางพิเศษเฉลิมมหานคร

หรือทางด่วนขั้นที่ 1 เป็นทางพิเศษสายแรกของประเทศไทย มีระยะทางทั้งสิ้น 27.1 กิโลเมตร มีจำนวน 3 เส้นทาง

สายดินแดง–ท่าเรือ ระยะทาง 8.9 กิโลเมตร

เริ่มจากปลายถนนวิภาวดีรังสิต มุ่งผ่านทางแยกต่างระดับมักกะสัน ผ่านถนนสุขุมวิท ถึงถนนพระรามที่ 4 และเป็นทางยกระดับอีกครั้งถึงทางแยกต่างระดับท่าเรือ เชื่อมต่อกับทางพิเศษสายดาวคะนอง–ท่าเรือ มีด่านเก็บค่าผ่านทางจำนวน 6 ด่านคือ ด่านดินแดง, ด่านเพชรบุรี, ด่านสุขุมวิท, ด่านพระรามสี่ 1, ด่านเลียบแม่น้ำ และด่านท่าเรือ 1

สายบางนา–ท่าเรือ ระยะทาง 7.9 กิโลเมตร

เริ่มจากบริเวณทางแยกต่างระดับบางนา มุ่งผ่านจุดตัดทางพิเศษฉลองรัช ที่ทางแยกต่างระดับสุขุมวิท50 ถึงทางแยกต่างระดับท่าเรือ มีด่านเก็บค่าผ่านทางจำนวน 4 ด่านคือ ด่านท่าเรือ 2, ด่านอาจณรงค์, ด่านสุขุมวิท 62 และด่านบางนา

สายดาวคะนอง–ท่าเรือ ระยะทาง 10.3 กิโลเมตร

เริ่มจากทางแยกต่างระดับท่าเรือ ผ่านทางแยกต่างระดับบางโคล่ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ขึ้นสะพานพระราม 9 และสิ้นสุดที่ถนนพระรามที่ 2 มีด่านเก็บค่าผ่านทางจำนวน 5 ด่านคือ ด่านสาธุประดิษฐ์ 1, ด่านสาธุประดิษฐ์ 2, ด่านพระราม3, ด่านสุขสวัสดิ์ และด่านดาวคะนอง

ทางด่วน

  • ทางพิเศษศรีรัช

สายบางโคล่-แจ้งวัฒนะ, สายพญาไท-ศรีนครินทร์ หรือทางด่วนขั้นที่ 2 มีระยะทางรวม 38.4 กิโลเมตร โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ

ส่วน A ระยะทาง 12.4 กิโลเมตร เริ่มต้นที่ถนนรัชดาภิเษกผ่านบริเวณทางแยกต่างระดับพญาไท สิ้นสุดที่ถนนพระราม 9 เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร

ส่วน B ระยะทาง 9.4 กิโลเมตร มีแนวเชื่อมต่อกับส่วน A ที่บริเวณทางแยกต่างระดับพญาไท ผ่านถนนศรีอยุธยา เชื่อมต่อกับทางพิเศษเฉลิมมหานครที่บริเวณต่างระดับบางโคล่ เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร

ส่วน C ระยะทาง 8 กิโลเมตร เป็นทางพิเศษเขตนอกเมือง โดยเชื่อมต่อกับส่วน A บริเวณถนนรัชดาภิเษก ผ่านถนนประชาชื่น สิ้นสุดที่ถนนแจ้งวัฒนะ และเชื่อมต่อกับทางพิเศษอุดรรัถยา เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร

ส่วน D ระยะทาง 8.6 กิโลเมตร เป็นทางพิเศษเขตนอกเมือง เชื่อมต่อกับส่วน A โดยเริ่มจากถนนพระราม 9 ตัดกับทางพิเศษเฉลิมมหานครที่ทางแยกต่างระดับมักกะสัน, ตัดกับทางพิเศษฉลองรัชที่ทางแยกต่างระดับพระราม 9 สิ้นสุดที่ถนนศรีนครินทร์ และเชื่อมต่อกับทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร

ทางด่วน

  • ทางพิเศษฉลองรัช

มีระยะทางทั้งสิ้น 28.2 กิโลเมตร 

สายรามอินทรา–วงแหวนรอบนอก เริ่มต้นจากถนนกาญจนาภิเษก ทางแยกต่างระดับลำลูกกา มุ่งไปทางยกระดับข้ามถนนสุขาภิบาล 5 – นิมิตใหม่ จนถึงถนนรามอินทรา เป็นส่วนต่อขยายของทางพิเศษฉลองรัช มีระยะทาง 9.5 กิโลเมตร 

สายรามอินทรา–อาจณรงค์ ระยะทาง 18.7 กิโลเมตร เริ่มจากถนนรามอินทรา ข้ามถนนลาดพร้าว ถนนประชาอุทิศ ถนนพระราม 9 ตัดกับทางพิเศษศรีรัช ส่วน D ข้ามถนนรามคำแหง พัฒนาการ เลียบแนวคลองตัน ข้ามถนนสุขุมวิทสะพานพระโขนง บรรจบกับทางพิเศษเฉลิมมหานคร สายบางนา–ท่าเรือ ที่บริเวณอาจณรงค์ (ปลายซอยสุขุมวิท 50) 

  • ทางพิเศษบูรพาวิถี สายบางนา-ชลบุรี (บางนา-บางพลี-บางปะกง)

จุดเริ่มต้นที่เขตบางนา สิ้นสุดที่จังหวัดชลบุรี ระยะทางทั้งสิ้น 55 กิโลเมตร เป็นทางพิเศษสายเดียว ที่มีการยกเว้นค่าผ่านทาง ในช่วงวันหยุดยาวของเทศกาลต่างๆ และยังเป็นทางพิเศษสายแรกที่ใช้ระบบเก็บเงินตามระยะทาง

expressways

  • ทางพิเศษอุดรรัถยา สายบางปะอิน–ปากเกร็ด

มีระยะทางรวม 32 กิโลเมตร เชื่อมต่อมาจากทางพิเศษศรีรัชส่วน C จุดตัดกับถนนแจ้งวัฒนะ ผ่านเมืองทองธานี จากนั้นเข้าสู่จังหวัดปทุมธานี ข้ามคลองเชียงราก ตัดกับทางหลวงหมายเลข 3214 ซึ่งจะมีทางแยกเชื่อมกับทางเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต หลังจากนี้ เส้นทางจะโค้งเข้าสู่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไปสิ้นสุดที่ถนนกาญจนาภิเษก

รถติด

  • ทางพิเศษสาย S1 สายอาจณรงค์-บางนา

เริ่มจากปลายทางพิเศษฉลองรัช ซ้อนทับไปตามแนวทางพิเศษเฉลิมมหานคร เชื่อมต่อกับทางพิเศษบูรพาวิถี มีระยะทาง 4.7 กิโลเมตร มีด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษจำนวน 1 ด่านคือ ด่านบางจากซึ่งเป็นด่านของทางพิเศษเฉลิมมหานคร

ทางด่วน

  • ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์)

เชื่อมต่อกับถนนกาญจนาภิเษก (ช่วงถนนพระรามที่ 2 ถึงถนนสุขสวัสดิ์) เริ่มต้นจากถนนสุขสวัสดิ์ อำเภอพระประแดง ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านถนนสุขุมวิท ถนนศรีนครินทร์ และถนนเทพารักษ์ ไปบรรจบกับถนนเทพรัตน อำเภอบางพลี มีระยะทาง 22.5 กิโลเมตร สำหรับทางพิเศษสายนี้ มีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มอีก 1 แห่ง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามสะพานว่า “สะพานกาญจนาภิเษก”

ทางด่วนประเทศไทย

โทลเวย์ (Tollway)

โทลเวย์ หรือ ทางยกระดับอุตราภิมุข คือ ทางด่วนลอยฟ้าที่มีการเก็บค่าผ่านทาง ดูแลโดยกรมทางหลวง และบริษัทยกระดับทางดอนเมือง จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีระยะทาง 28.2 กม. โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ  ช่วงดินแดง – ดอนเมือง และ ช่วงอนุสรณ์สถาน – รังสิต

สะพานภูมิพล

มอเตอร์เวย์ (Motorway)

เป็นทางด่วนที่เชื่อมระหว่างเมืองหรือจังหวัด มี 2 สายคือ ทางด่วนพิเศษหมายเลข 7 มอเตอร์เวย์-กรุงเทพ-ชลบุรี-พัทยา มีระยะทางรวม 125.9กม. และ ทางด่วนพิเศษหมายเลข 9 ถนนกาญจนาภิเษก วงแหวนรอบนอกตะวันออก มีระยะทางรวม 131 กม.

มอเตอร์เวย์
credit: siamrath

ไฮเวย์ (Highway)

คือ ทางหลวงแผ่นดินเชื่อมระหว่างจังหวัด ใช้บริการฟรี ไม่เสียค่าผ่านทาง แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ ทางหลวงพิเศษ, ทางหลวงแผ่นดิน, ทางหลวงชนบท, ทางหลวงท้องถิ่น และทางหลวงสัมปทาน สำหรับทางหลวงหลักที่เชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานคร ไปยังภูมิภาคต่างๆ แบ่งออกเป็น 4 สาย ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน กรุงเทพฯ-แม่สาย (เขตแดน), ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ สระบุรี-หนองคาย (เขตแดน), ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 ถนนสุขุมวิท กรุงเทพฯ-ตราด, ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม กรุงเทพฯ-อ.สะเดา จ.สงขลา

source :
https://bit.ly/3jUP1WU 
https://bit.ly/3f9xbvz

สนใจช้อปผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่องและอื่นๆ จากยูคอน ได้ที่