หากพูดถึงเกียร์รถยนต์ ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกียร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพก็คือ น้ำมันเกียร์ ซึ่งควรเลือกใช้น้ำมันเกียร์ให้ถูกต้องเหมาะสมกับการใช้งาน นอกจากจะช่วยเรื่องการทำงานของระบบเกียร์ให้มีประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยถนอมดูแลเกียร์รถยนต์ของคุณให้ใช้งานได้ดีไม่พังไว ซึ่งจะเลือกน้ำมันเกียร์ยังต้องดู ความหนืดน้ำมันเกียร์ ประกอบการตัดสินใจ ส่วนความหนืดน้ำมันเกียร์คืออะไร แล้วต้องเลือกใช้อย่างไร มาดูกัน
รู้จักกับ ความหนืดน้ำมันเกียร์
ความหนืดน้ำมันเกียร์จะขึ้นอยู่กับ ประเภทของเกียร์ ความเร็วรอบ และอุณหภูมิการใช้ โดยที่ความหนืดของน้ำมันเกียร์จะแบ่งออกเป็น ความหนืดน้ำมันเกียร์ต่ำ และ ความหนืดน้ำมันเกียร์สูง มีข้อแตกต่างดังนี้
- ค่าความหนืดต่ำ เป็นผลดีกับรถที่ขับเคลื่อนด้วยความเร็วสูง เกียร์รับแรงกดดันน้อย มีฟันเฟืองเล็ก การที่มีความหนืดต่ำจะให้ฟิล์มน้ำมันบางและแรงเสียดทานต่ำ มีอุณหภูมิต่ำ ข้อดีคือสามารถระบายความร้อนได้ดี
- ค่าความหนืดสูง เป็นผลดีสำหรับรถที่ขับเคลื่อนความเร็วต่ำ เกียร์เกียร์รับแรงกดดันสูง มีฟันเฟืองใหญ่ การที่มีความหนืดสูงให้ฟิล์มน้ำมันหนา ข้อดีคือทนต่อการสึกหรอสูงและทนต่อสภาวะความดันสูง
ระดับความหนืดน้ำมันเกียร์
สิ่งที่กำหนดน้ำมันเกียร์ตามความหนืดก็คือค่า SAE ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานสากล กำหนดโดยกรมวิศวกรยานยนต์ เพื่อเป็นการจัดระดับความหนืดให้เหมาะสมกับเกียร์รถยนต์ที่ใช้งาน แบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ โมโนเกรด และมัลติเกรด
- น้ำมันเกียร์โมโนเกรด จะถูกกำหนดโดยเลขจำนวนเพียงตัวเดียว เช่น 70, 90, 140, 250 เป็นต้น โดยหมายถึงระดับของความหนืดของน้ำมันที่อุณหภูมิที่กำหนด ตัวเลขยิ่งสูงหมายถึงความหนืดของน้ำมันที่สูงมากตามไปด้วย
– ความหนืดของน้ำมันเกียร์ที่กำหนดโดยตัวเลขอย่างเดียว ไม่มีอักษร ‘W’ เช่น SAE 80, SAE 90, SAE 140 จะเป็นการระบุการใช้งานที่อุณหภูมิ 100 °C หรือ 212 ° F จะเป็นน้ำมันเกียร์ที่เหมาะสำหรับการใช้งานในอุณหภูมิสูง
– ความหนืดของน้ำมันเกียร์ที่มีตัวเลขแล้วตามด้วยตัวอักษร ‘W’ เช่น SAE 70W, SAE 75W, SAE 80W จะเป็นการระบุการใช้งานที่อุณหภูมิ -18 °C หรือ 0 °F ซึ่งตัวอักษร ‘W’ หมายถึง Winter หมายความว่าเกรดเหล่านี้ จะใช้งานได้ดีในอุณหภูมิต่ำ -
น้ำมันเกียร์มัลติเกรด (Multi Grade) ความหนืดของน้ำมันเกียร์จะมีเสถียรภาพโดยสารโพลิเมอร์ (Improvers ค่าดัชนีความหนืด) โดยจะถูกกำหนดทั้งที่อุณหภูมิสูงและต่ำ และจะกำหนดการใช้งานโดยหมายเลขสองชุดและตัวอักษร ‘W’ เช่น SAE 75W-90, SAE 80W-90, 85W-SAE 140 เป็นต้น
– หมายเลขชุดแรกต่อท้ายด้วย W ระบุความหนืดของน้ำมันที่อุณหภูมิเย็น
– หมายเลขชุดที่สองระบุความหนืดของน้ำมันที่อุณหภูมิสูง
– ยกตัวอย่าง น้ำมัน SAE 75W-90 มีความหนืดที่อุณหภูมิต่ำเหมือนกับ SAE 75W แต่มีความหนืดที่อุณหภูมิสูงแบบเดียวกับ SAE90 นั่นเอง