ต่อภาษีรถยนต์

ต่อภาษีรถยนต์ ง่าย ๆ ไม่ต้องไปขนส่งฯ

ต่อภาษีรถยนต์ ง่าย ๆ ไม่ต้องไปขนส่งฯ? ผู้ที่มีรถทุกประเภทไม่ว่าจะเป็น รถเก๋ง รถกระบะ หรือมอเตอร์ไซค์ ล้วนแล้วแต่ต้องเสียภาษีในทุกๆปี ซึ่งก่อนที่จะต่อภาษีได้นั้น จะต้องมีการต่อ พ.ร.บ. เสียก่อน หากยังสับสน หรือยังไม่รู้ว่า

ภาษีรถยนต์ คืออะไร?

ภาษีรถยนต์ หรือ การต่อทะเบียนรถยนต์ คือ สิ่งที่กฎหมายบังคับให้เจ้าของรถยนต์ทุกคน จะต้องจ่ายเป็นประจำทุกปี โดยภาษีที่เราจ่าย หน่วยงานของรัฐจะนำไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงเส้นทางการคมนาคม หากไม่ต่อภาษีรถยนต์ติดต่อกัน 3 ปีขึ้นไป รถยนต์จะถูกระงับทะเบียน และต้องทำเรื่องขอจดทะเบียนใหม่จากกรมการขนส่งทางบก พร้อมกับคืนแผ่นป้ายทะเบียนเดิม และจะต้องเสียภาษีย้อนหลังตามจำนวนปีที่ไม่ได้เสียภาษีอีกด้วย การต่อภาษีรถยนต์ สามารถต่อล่วงหน้าได้ก่อนทะเบียนหมดอายุไม่เกิน 3 เดือน

ต่อภาษีรถยนต์
credit: chobrod

ต่อภาษีรถยนต์ ได้ที่ไหนบ้าง?

หลายคนคงไม่อยากไปเสียเวลารอคิว ที่สำนักงานกรมขนส่ง นอกจากคนจะเยอะแล้ว ยังเปิดทำการแค่วันจันทร์-ศุกร์เท่านั้น คนที่ทำงานแบบ office time คงไม่มีเวลาไป แต่ปัจจุงันเราสามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ง่ายๆ โดยที่ไม่ต้องไปกรมขนส่งแล้ว

online service

เว็บไซต์ออนไลน์ของทางกรมการขนส่งทางบก

สะดวกและง่ายสุดๆใช้แค่ปลายนิ้ว รวดเร็วทันใจ ไม่ต้องออกนอกบ้าน ไปที่กรมขนส่ง ก็สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ ที่ https://www.dlt.go.th/th/ คลิกที่บริการผ่านอินเตอร์เน็ต เเละชำระภาษีรถผ่านอินเตอร์เน็ต โดยที่ต้องทำการลงทะเบียนเพื่อขอรหัสผ่านก่อนเบื้องต้น ถึงจะสามารถทำการต่อทะเบียนรถยนต์ออนไลน์ได้ สามารถทำได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้

– รถเก๋ง รถตู้ รถกระบะส่วนบุคคล 
– รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล

เงื่อนไขในการต่อภาษี

  1. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ แต่หากรถยังอยู่ในช่วงเช่าซื้อกับไฟแนนซ์ แนะนำใช้สำเนาทะเบียนรถ
  2. ในกรณีที่เป็นรถยนต์ที่จดทะเบียนเกิน 7 ปี หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนเกิน 5 ปี จะต้องไปตรวจสภาพรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด หรือสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) เพื่อขอใบตรวจสภาพรถยนต์
  3. หากเป็นรถติดแก๊ส ต้องนำเอกสารการรับรองติดตั้งแก๊ส และตรวจสภาพจากวิศวกรแนบมาด้วย ในกรณีที่ติดตั้งระบบ LPG สามารถอยู่ได้ 5 ปีต่อการตรวจสภาพ 1 ครั้ง แต่ถ้าเป็นระบบ CNG จำเป็นต้องตรวจสภาพทุกปี
  4. จะต้องทำ หรือต่อ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถก่อน จึงจะสามารถต่อทะเบียนรถยนต์ได้ ถ้ายังไม่ต่อ สามารถทำออนไลน์ที่เว็บไซต์ของกรมขนส่งได้ด้วยเช่นกัน
  5. รถที่ค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี

ขั้นตอนการต่อภาษีออนไลน์

  1. เข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf จากนั้น กดลงทะเบียนสมาชิกใหม่ 

    กรมการขนส่ง

  2. จากนั้นใส่ข้อมูลให้ครบถ้วน และกดบันทึก

    กรมการขนส่งทางบก2

  3. เมื่อทำการลงทะเบียน ได้รหัสมาเรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อมากดเข้าสู่ระบบ และคลิกที่ ชำระภาษีรถประจำปี

    กรมการขนส่งทางบก3

    กรมการขนส่งทางบก4

  4. กดลงทะเบียนรถ กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถของเรา จากนั้นกดบันทึก และกดยื่นภาษี ทำตามขั้นตอนได้เลย

    กรมการขนส่งทางบก5
    กรมการขนส่งทางบก6

ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ ( ต่อภาษีรถยนต์ วันเสาร์-อาทิตย์ได้)

ถือว่าเป็นช่องทางที่สะดวกมากสำหรับหลายๆคน อีกทั้งยังเปิดทำการในวันเสาร์-อาทิตย์ อีกด้วย ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วม มีดังนี้

  • ห้างสรรพสินค้า Big C (9.00 น. –17.00 น.) สาขาลาดพร้าว, รามอินทรา, รัชดาภิเษก,บางประกอก. เพชรเกษม, สุขาภิบาล 3, อ่อนนุช, แจ้งวัฒนะ, สำโรง, บางบอน, สุวินทวงศ์, สมุทรปราการ, บางใหญ่ และบางนา
  • ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัลเวิลด์ (11.00 น. –18.00 น.)
  • ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัลรามอินทรา (10.00 น. –17.00 น.)
  • ห้างสรรพสินค้า พาราไดซ์ พาร์ค ถนนศรีนครินทร์ (10.00 น. –17.00 น.)

ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง
  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
  • รถจักรยานยนต์

หลักฐานที่ใช้ในการต่อภาษี

  1.  ใบคู่มือจดทะเบียนรถหรือสำเนา
  2. หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ. (ใบกรมธรรม์)
  3. หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) หากเป็นรถยนต์ที่จดทะเบียนเกิน 7 ปี หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนเกิน 5 ปี
  4. หนังสือรับรองการตรวจทดสอบ เครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง รับชำระภาษีรถทั่วประเทศ ไม่ว่ารถนั้นจะจดทะเบียนไว้ที่จังหวัดใดก็ตาม

ห้างสรรพสินค้า

จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ

เป็นช่องทางที่ง่ายที่สุดอีกช่องทางหนึ่งเลยก็ว่าได้ เพราะเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง มีสาขาใกล้บ้านเยอะแยะมากมาย นั่นก็คือ ร้านสะดวกซื้อ 7-11 นั่นเอง 

ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง
  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
  • รถจักรยานยนต์

เงื่อนไขในการต่อภาษี

  1. เป็นรถยนต์ที่จดทะเบียนไม่เกิน 7 ปี และรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนไม่เกิน 5 ปี
  2. กรมขนส่งทางบกจะส่งใบเสร็จ และป้ายวงกลมให้ทางไปรษณีย์ ตามที่อยู่ที่เราระบุไว้ ภายใน 10 วัน นับจากวันที่ชำระเงิน
  3. มีค่าบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส 20 บาท และค่าจัดส่งป้ายวงกลม 40 บาท
  4. รถที่ค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี 

หลักฐานที่ใช้ในการต่อภาษี

  1. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ แต่หากรถยังอยู่ในช่วงเช่าซื้อกับไฟแนนซ์ แนะนำใช้สำเนาทะเบียนรถ
  2. หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ. (ใบกรมธรรม์)
  3. หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) หากเป็นรถยนต์ที่จดทะเบียนเกิน 7 ปี หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนเกิน 5 ปี

7/11

  • ที่ทำการไปรษณีย์

ปกติทุกเขต จะมีที่ทำการไปรษณีย์อยู่แล้ว อาจเดินทางไม่ไกลมากนัก ก็สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้เช่นกัน

ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง
  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
  • รถจักรยานยนต์
  • รถแทรกเตอร์
  • รถบดถนน
  • รถพ่วง 

หลักฐานที่ใช้ในการต่อภาษี

  1. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ แต่หากรถยังอยู่ในช่วงเช่าซื้อกับไฟแนนซ์ แนะนำใช้สำเนาทะเบียนรถ
  2. หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ. (ใบกรมธรรม์)
  3. หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) หากเป็นรถยนต์ที่จดทะเบียนเกิน 7 ปี หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนเกิน 5 ปี
ไปรษณีย์ไทย
credit: positioningmag

สนใจช้อปผลิตภัณฑ์จากยูคอน  ได้ที่