Coolant หรือ น้ำยาหล่อเย็น กับคุณประโยชน์มากมายต่อรถของคุณที่ให้ได้มากกว่าน้ำเปล่า นอกจากเรื่องคุณสมบัติในการะบายความร้อนของ coolant เรามาทำความรู้จักกับประเภทของน้ำยาหล่อเย็นกันก่อน ว่ามีกี่ประเภท แต่ละประเภทใช้งานอย่างไร
Coolant แบบเข้มข้น (แบบหัวเชื้อ)
น้ำยาหล่อเย็นชนิดนี้จะเป็นแบบเข้มข้น โดยก่อนใช้งานจะต้องนำไปผสมน้ำตามอัตราส่วนเพื่อให้น้ำยาเจือจางก่อนจะนำไปใส่ในหม้อน้ำ
ข้อดี
- ประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะเพียงขวดเล็กๆ ก็สามารถผสมน้ำไว้ใช้งานได้หลายครั้ง
- ประหยัดค่าจัดส่ง เพราะไม่ต้องส่งครั้งละหลายๆ ลิตร แค่เพียงขวดเดียวก็เพียงพอ
- เหมาะสำหรับ อู่ซ่อมรถ หรือ ผู้ที่รู้เรื่องเกี่ยวกับการใช้งานมาพอสมควร
ข้อเสีย
- มีความยุ่งยากกว่า ในเรื่องของการกะประมาณสัดส่วน ว่าต้องมากน้อยแค่ไหน หากเข้มข้นมากก็อาจจะกัดกร่อนหม้อน้ำได้ จึงจำเป็นต้องใช้ความแม่นยำในการผสม
น้ำยาหล่อเย็น แบบผสมเสร็จ
น้ำยาหล่อเย็นชนิดนี้ เป็นชนิดที่ผสมมาเรียบร้อย คือทำมาสำเร็จรูปพร้อมใ่ส่ได้ทันที
ข้อดี
- ไม่ต้องผสมอะไรให้ยุ่งยากลำบาก เพราะในขวดหรือแกลลอนที่ให้มานั้นคือ coolant ที่พร้อมน้ำไปเติมหม้อน้ำได้เลย
- ไม่ว่าจะมือเก่า มือใหม่ หัดเติมน้ำยาหล่อเย็น ก็ไม่ต้องเป็นกังวลว่าจะต้องผสมด้วยปริมาณเท่าไหร่ ผู้หญิงก็ทำได้สบายมาก
- มีติดรถไว้สำหรับเดินทางไกล ถ้าจำเป็นต้องเติมน้ำในหม้อน้ำก็สามารถเติมได้ทันที ไม่ต้องหาน้ำมาผสม
- เป็นแบบที่ผู้ใช้รถโดยทั่วไปนิยมใช้มากที่สุด
ข้อเสีย
- หากจะเปลี่ยนถ่ายน้ำยาหล่อเย็นใหม่ จำเป็นต้องใช้จำนวนหลายลิตร
- การที่ใช้น้ำยาหล่อเย็นจำนวนมากในแต่ละครั้ง ถ้าหากต้องมีการจัดส่งจะเพิ่มน้ำหนักมากกว่าแบบที่เอามาผสมเอง
ทั้งนี้ สำหรับผู้ใช้งานส่วนใหญ่ที่มีรถยนต์ส่วนตัว ใช้น้ำยาหล่อเย็นแบบผสมแล้วจะสะดวกกว่า