ช่วงล่างรถยนต์ มีแบบไหนบ้าง

ช่วงล่างรถยนต์ มีแบบไหนบ้าง?

ช่วงล่างของรถยนต์ มีระบบที่ทำหน้าที่ลดการสั่นสะเทือนจากถนนมายังห้องโดยสารให้น้อยที่สุด และยังช่วยให้รถควบคุมง่ายขึ้น ไม่โยนตัวเวลาเข้าโค้ง เวลาขึ้นสะพานหรือพื้นที่ต่างระดับก็จะอยู่ในสภาวะสมดุล ไม่เด้งจนตัวลอย เรามาทำความรู้จักกับ ช่วงล่างรถยนต์ กันก่อน 

ระบบกันสั่นสะเทือนของ ช่วงล่างรถยนต์

 1. ระบบกันสั่นแบบช่วงล่างไม่อิสระ (Dependent Suspension Type)

ระบบกันสั่นแบบช่วงล่างไม่อิสระ เป็นแบบใช้คานอันเดียว เชื่อมต่อชุดของล้อเข้าด้วยกัน ด้วยความที่ใช้คานชุดเดียวกัน เวลาล้อข้างหนึ่งเจอสิ่งกีดขวางหรือลงหลุมลงบ่อ เมื่อทำมุมเอียงข้างหนึ่ง อีกข้างก็จะทำมุมเหมือนกันไปด้วย ซึ่งระบบช่วงล่างแบบนี้นิยมใช้กับรถบรรทุก เพราะต้องการความแข็งแรงในการรับน้ำหนักมากกว่า และมีความสมดุลกว่า

ข้อดีของช่วงล่างไม่อิสระ คือ ออกแบบง่าย คงทน แข็งแรง และราคาถูก ค่าบำรุงรักษาต่ำ แต่ข้อเสียก็คือ ด้วยความที่ทั้งสองข้างจะมีมุมเอียงไปพร้อมๆ กัน จะทำให้เมื่อรถวิ่งในความเร็วสูงจะควบคุมได้ยาก อาจเกิดการพลิกคว่ำได้ง่ายกว่า

2. ระบบกันสั่นสะเทือนแบบช่วงล่างอิสระ (Independent Suspension Type)

ระบบนี้จะมีช่วงล่างซ้ายขวาอิสระต่อกัน มีแบ่งประเภทแยกย่อยออกมาหลายชนิด แต่ที่นิยมหลักๆ มีดังนี้

– ดับเบิ้ลวิชโบน (Double Wishbones)

ระบบกันสั่นแบบนี้จะใช้เหล็ก 2 ชิ้น ลักษณะคล้ายง่ามกระดูกหน้าอกนก (ที่มาของคำว่า wishbones) โดยมีการต่อเข้ากับดุมล้อรถแยกอิสระทั้งซ้ายและขวา โดยง่าม wishbones นี้จะติดกับโครงรถช่วงล่าง โช้คอัพและคอยล์สปริง เป็นการรับแรงในแนวตั้ง

ข้อดี เป็นระบบทีมีความยืดหยุ่นสูง การเคลื่อนไหวอิสระของสองล้อ เมื่อสั่นสะเทือนก็จะอิสระต่อกัน ทำให้แรงกระแทกมาถึงห้องโดยสารได้น้อยลง เกาะถนนได้ดีขึ้น
ข้อเสีย เป็นระบบที่มีความซับซ้อน มีการใช้ชิ้นส่วนหลายชิ้น ข้อต่อหลายจุด จะกินพื้นที่มาก น้ำหนักเยอะ การบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมใช้เวลานาน

– แบบแม็คเฟอร์สันสตรัท (MacPherson Strut)

สำหรับรถยนต์นั่งทั่วไปนิยมใช้ระบบนี้ โดยเป็นระบบกันสั่นสะเทือนที่ล้อหน้า มีเสาค้ำ โช้คอัพ และคอยล์สปริง ในแนวตั้ง ต่อเข้ากับดุมล้อ ด้านล่างดุมล้อมีแขนเหล็กใช้สำหรับควบคุมการเลี้ยว
ข้อดี ออกแบบง่าย ขับขี่นุ่มนวล และต้นทุนที่ต่ำ ข้อเสีย การเคลื่อนที่ของล้อบางมุมจะสู้ความยืดหยุ่นและการเกาะถนนแบบดับเบิ้ลวิชโบนไม่ได้

– แบบมัลติลิงก์ (Multi-Link)

ระบบนี้จะมีความมัลติ นั่นก็คือ มีการใช้แขนเหล็กต่อกันสามชิ้นขึ้นไป โดยแต่ละแขนที่ต่อกันจะมีความยาวไม่เท่ากัน เพื่อให้มีความอิสระในการขับเคลื่อนมากยิ่งขึ้นในหลายทิศทาง ทำให้ห้องโดยสารไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ส่วนใหญ่จะใช้กับรถออฟโร้ด หรือรถหรูที่ต้องการความนิ่มนวลมาก
ข้อดี สร้างความนุ่มนวลให้กับผู้ขับขี่แม้ทางจะขรุขระ ข้อเสีย ชิ้นส่วนมีหลายชิ้น ใช้เวลาในการผลิตนาน ทำให้มีต้นทุนในการผลิตสูง และหากต้องมีการซ่อมแซมจะต้องมีช่างผู้เชี่ยวชาญหรืออู่เฉพาะทางของรถค่ายนั้นๆ

ดูแลช่วงล่างรถยนต์ แล้วอย่าลืมเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่นตามจุดต่างๆ ของรถยนต์ เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานสูงที่สุด

สนใจช้อปผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นยูคอน ได้ที่