สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับ พวงมาลัยเพาเวอร์

สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับ พวงมาลัยเพาเวอร์

ในการขับขี่นั้น นอกจากรถยนต์จะขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์แล้ว การบังคับรถเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาก็ต้องมีพวงมาลัยรถยนต์อย่างขาดไม่ได้แน่นอน ซึ่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้มี พวงมาลัยเพาเวอร์ ที่จะช่วยทุ่นแรงสำหรับคนขับรถไปได้มาก พวงมาลัยเพาเวอร์เป็นอย่างไร มีประเภทไหน และอะไรที่เราควรต้องรู้อีกบ้าง

พวงมาลัยเพาเวอร์ คืออะไร

พวงมาลัยเพาเวอร์ หรือ Power steering system เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยทดกำลังการหมุนพวงมาลัย ทำให้ผู้ขับขี่สามารถหมุนพวงมาลัยบังคับทิศทางซ้ายขวาได้โดยง่าย และเบาลงมาก เป็นการลดการใช้กำลัง พวงมาลัยไม่หนักเหมือนรถรุ่นก่อนๆ ขับง่ายขับสะดวกกว่าเดิม

ประเภทของพวงมาลัยเพาเวอร์ มีอะไรบ้าง

พวงมาลัยเพาเวอร์ได้แบ่งประเภทออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ก็คือ

1. ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิค (Hydraulic Power Steering)

ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิคนั้น จะเป็นการทำงานโดยใช้ปั๊มไฮดรอลิค สร้างแรงดันเพื่อส่งกำลังไปยังกระปุกพวงมาลัย หรือแร็กพวงมาลัย โดยใช้แรงจากเครื่องยนต์ช่วยหมุนสายพานมายังปั๊มไฮดรอลิค เพื่อให้พวงมาลัยผ่อนแรงลงในตอนที่หักเลี้ยวรถ

  • ข้อดี พวงมาลัยแบบนี้มีความแม่นยำสูง เข้าโค้งมั่นใจ
  • ข้อเสีย ระบบไฮดรอลิคจะใช้น้ำมันในการถ่ายทอดพลังงาน อาจมีการรั่วซึมที่เกิดจากซีลหรือท่อยางชำรุด
  • ข้อควรระวัง ไม่ควรหมุนพวงมาลัยจนสุดแล้วค้างไว้นาน เพราะน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์จะมีความร้อนสูง และเกิดแรงดันสูง เป็นเหตุให้พวงมาลัยเสียหายได้

2. ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฟฟ้า EPS (Electric Power Steering)

ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฟฟ้านั้น จะใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวสร้างกำลังในการช่วยผ่อนแรงพวงมาลัย โดยเมื่อมีการหมุนพวงมาลัยซ้ายขวา จะมีเซ็นเซอร์คอยตรวจจับการทำงาน ก่อนที่จะส่งไปยังกล่องควบคุม เพื่อให้มอเตอร์ทำงาน และช่วยผ่อนแรงพวงมาลัย ให้พวงมาลัยเบาขึ้น

  • ข้อดี เมื่อใช้ความเร็วต่ำ พวงมาลัยจะเบามาก เมื่อใช้ความเร็วสูงกล่องควบคุมจะมีคำสั่งให้พวงมาลัยหนักขึ้น เพื่อให้เวลาที่เราขับมาเร็วๆ แล้วหักโค้งไม่เร็วจนเกินการควบคุม เพื่อให้เกิดความปลอดภัย และยังไม่ต้องห่วงเรื่องปัญหาน้ำมันรั่วซึมเพราะใช้ระบบมอเตอร์ในการทำงาน
  • ข้อเสีย ความแม่นยำในการขับขี่ และการกะจังหวะในการหักเลี้ยว การเข้าโค้ง จะแม่นยำน้อยกว่าแบบระบบไฮดรอลิค

พวงมาลัยเพาเวอร์หนัก เกิดจากสาเหตุใด

  • ระดับน้ำมันต่ำเกินไป ทำให้เกิดแรงขับเคลื่อนได้ไมเต็มประสิทธิภาพ ควรหมั่นตรวจสอบไม่ให้น้ำมันลด เติมให้อยู่ในปริมาณที่พอดี
  • น้ำมันรั่วซึม ทำให้น้ำมันไม่พอในการขับเคลื่อน ต้องรีบหาจุดรั่วซึมและรีบแก้ไข
  • ใช้น้ำมันผิดประเภท หลายครั้งที่ผู้ใช้รถมักเอาน้ำมันอะไรก็ได้เติมไปก่อน ซึ่งไม่ได้ส่งผลดีในระยะยาว ดังนั้นควรเปลี่ยนถ่ายและเติมน้ำมันเข้าไปใหม่
  • ปั๊มไฮดรอลิคเสียหาย สังเกตได้จากมีเสียงดัง หรือเสียงหอนเกิดขึ้น จำเป็นต้องรื้อมาตรวจสอบและซ่อมแซม
  • มอเตอร์ชำรุดเสียหาย กรณีที่เป็นพวงมาลัยระบบไฟฟ้า สังเกตการแจ้งเตือนบนหน้าปัด จะมีไฟแจ้งเตือนรูปพวงมาลัยขึ้นมา รีบนำไปให้ช่างตรวจสอบ
  • อุปกรณ์อื่นๆ ชำรุดเสียหาย ต้องเช็คชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับพวงมาลัย เช่น ลูกหมาก ปีกนก หรืออื่นๆ ว่ามีการชำรุดเสียหายหรือไม่
  • ลมยางอ่อน หรือไม่ได้ตั้งศูนย์รถ ก็เป็นอุปสรรคในการขับขี่ ลมยางอ่อนทำให้รถหนักขึ้น พวงมาลัยก็หนักตาม และรถไม่ได้ศูนย์ก็อาจทำให้การทำงานของพวงมาลัยผิดพลาด ไม่แม่นยำ

สนใจช้อปผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่องยูคอน  ได้ที่