ขับรถลุยน้ำท่วม

เทคนิคการขับรถลุยน้ำท่วม ให้เกิดผลเสียกับรถน้อยที่สุด

เทคนิคการขับรถลุยน้ำท่วม ให้เกิดผลเสียกับรถน้อยที่สุด? ปัญหาที่มาพร้อมกับ ช่วงฝนตกแบบนี้ ก็คือ เกิดน้ำท่วมขัง ตามท้องถนน หรือในพื้นที่ต่างๆ ที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งคนใช้รถอย่างเราๆ คงต้องเจอกับเหตุการณ์ ที่ต้องขับรถลุยน้ำท่วม บางที่น้ำท่วมสูงจนน้ำเข้ามาในตัวรถก็มี เราจะมาดูกันว่า เมื่อต้องขับรถลุยน้ำท่วม เราจะมีวิธีหรือเทคนิคในการขับรถยังไง ให้เกิดผลเสียกับรถของเราให้น้อยที่สุด และถึงที่หมายได้อย่างปลอดภัย

เทคนิคการขับรถลุยน้ำท่วม ให้เกิดผลเสียกับรถน้อยที่สุด

เทคนิคการขับรถลุยน้ำท่วม

  • ลดความเร็วลง เมื่อต้องขับรถลุยน้ำท่วม

เมื่อขับรถมาถึงจุดที่มีน้ำท่วมขัง ควรลดความเร็วลงทันที เพราะน้ำบนพื้นถนน จะส่งผลต่อการยึดเกาะของรถ อาจเสียการควบคุมได้ และเป็นการช่วยให้การกระเด็นของน้ำบนพื้นถนนลดลง ลดคลื่นน้ำไปปะทะอุปกรณ์ภายในน้อยที่สุด และไม่กระเด็นไปโดนคนอื่นได้อีกด้วย(โดยเฉพาะมอเตอร์ไซต์และคนเดินถนน) โดยปกติรถเก๋งทั่วไปส่วนใหญ่ มักจะถูกออกแบบให้มีความสูงกว่าพื้นถนนที่ประมาณ 15-30 เซนติเมตรเท่านั้น(ประมาณครึ่งล้อ) หากมีการขับรถลุยน้ำท่วมที่มีความสูงมากๆ อาจส่งผลให้น้ำทะลักเข้าสู่งห้องเครื่องยนต์ หรือภายในตัวรถได้

  • ปิดระบบปรับอากาศภายในรถทันที

หากขับรถลุยน้ำท่วม ในระดับน้ำที่สูงเกินประมาณ 40 เซนติเมตร ควรปิดระบบปรับอากาศทันที เพื่อป้องกันใบพัดลมแอร์หน้ารถ ดูดเอาละอองน้ำ เศษฝุ่นผง ขยะต่างๆ เข้าไปในห้องเครื่องยนต์ และมีโอกาสที่จะเกิดใบพัดหักได้ และส่งผลให้ ระบบระบายความร้อนมีปัญหา ไม่สามารถขับต่อได้

  • ขับรถลุยน้ำท่วมโดยใช้เกียร์ต่ำ

ให้รักษาอัตราเร่งไว้ให้ที่ประมาณ 1500-2000 รอบ อย่าเร่งเครื่องเด็ดขาด ควรขับรถให้อยู่ในความเร็วที่สม่ำเสมอ หากต่ำกว่าหรือสูงกว่านี้ จะส่งผลให้เครื่องดูดอากาศและน้ำเข้าเครื่อง ทำให้เครื่องยนต์ดับได้

  • ขับรักษาระยะห่างจากรถคันหน้าให้มาก

เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ต้อง ขับรถลุยน้ำท่วมหนัก นอกจากจะต้องใช้ความเร็วต่ำและคงที่แล้ว ควรขับเว้นระยะห่างจากรถคันหน้าด้วย เพราะระบบเบรกของรถที่เปียกน้ำอยู่เป็นเวลานาน จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของระบบเบรกต่ำลง หากคันหน้าเบรกกะทันหัน อาจเกิดอุบัติเหตุได้

  • ย้ำเบรกเป็นช่วงๆ

หลังที่ขับพ้นจากพื้นที่น้ำท่วมแล้ว ควรขับช้าๆ หรือจอดในพื้นที่ปลอดภัย ย้ำเบรกเป็นช่วงๆ เพื่อให้ผ้าเบรกแห้งเร็วขึ้น ถ้าแบบดิสเบรกจะแห้งเร็ว กว่าแบบดรัมเบรก สำหรับเกียร์ธรรมดาต้องมีการย้ำคลัช เช่นเดียวกับการย้ำเบรก เพราะหลังการลุยน้ำมาอาจมีปัญหาคลัชลื่นได้

  • ไม่ควรดับเครื่องทันที เมื่อถึงจุดหมาย

เมื่อขับถึงที่หมายอย่างปลอดภัยแล้ว ยังไม่ควรดับเครื่องยนต์ทันที เพราะอาจมีน้ำที่ค้างอยู่ในหม้อพักของท่อไอเสีย ควรสตาร์ทรถทิ้งไว้สักพัก เพื่อให้น้ำที่ค้างในหม้อพักระเหย และไล่ความชื้นออก ซึ่งจะสังเกตได้ว่ามีไอออกจากท่อไอเสีย

ขับรถลุยน้ำท่วม

ถ้าขับรถลุยน้ำท่วม แล้วเครื่องยนต์ดับ จะทำอย่างไรดี?

  • รีบเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินทันที เพื่อเป็นการส่งสัญญาณเตือนให้รถคันอื่น หรือคันที่ตามหลังมารู้
  • ห้ามสตาร์ทรถยนต์เด็ดขาด เพราะจะยิ่งทำให้น้ำเข้าไปท่วมเครื่องยนต์ และเกิดความเสียหายมากขึ้นได้
  • รีบนำรถออกจากพื้นที่น้ำท่วม หรือพื้นที่น้ำท่วมที่ต่ำที่สุด เพื่อไม่ให้กีดขวางการจราจร และลดความเสียหายกับรถยนต์ให้น้อยที่สุด ด้วยการลากหรือจูง หากไม่สามารถนำรถออกจากพื้นที่นั้นได้ ให้ทำการยกรถให้สูงขึ้นกว่าระดับน้ำท่วม อาจใช้แม่แรงช่วย
  • เปิดฝากระโปรงรถ และถอดขั่วแบตเตอรี่ออกทันที เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟเข้าไปเลี้ยงในระบบต่างๆ รวมถึงถอดอุปกรณ์ที่เป็นปลั๊กไฟ
  • โทรเรียกช่างมาตรวจดูอย่างละเอียด ว่าสามารถขับต่อได้หรือไม่ หากไม่สามารถขับต่อได้ ควรส่งรถเข้าศูนย์ หรืออู่ เพื่อซ่อมทันที

ขับรถลุยน้ำท่วม

เครื่องยนต์ดับกลางน้ำท่วม เกิดจากสาเหตุใด?

  • มีน้ำเข้าไปที่ห้องเผาไหม้เครื่องยนต์ ผ่านทางใส้กรองอากาศหรือข้อต่องวงช้าง ทำให้เครื่องยนต์เกิดอาการช็อคเพราะความร้อนจัดเจอกับความเย็นของน้ำ
  • ระบบไฟฟ้าในรถยนต์เกิดการช็อต จากการเปียกน้ำ และอาจจะลามไปถึงกล่องควบคุมเครื่องยนต์(ECU)และระบบต่างๆ
  • น้ำเข้าไปปะปนกับน้ำมันเครื่องยนต์  ทำให้น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพ เป็นคราบเหนียวหนืด ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเครื่องยนต์อย่างมาก
  • น้ำเข้าท่อไอดีของเครื่องยนต์ ส่งผลให้หัวฉีดเชื้อเพลิงเกิดความเสียหาย และทำให้เครื่องยนต์ดับลง

สนใจช้อปผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่องยูคอน ได้ที่