ข้อควรพิจารณาในการ เลือกน้ำมันไฮดรอลิค

ข้อควรพิจารณาในการ เลือกน้ำมันไฮดรอลิค

น้ำมันไฮดรอลิค เป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบไฮดรอลิค และเครื่องจักรแต่ละชนิดก็ใช้น้ำมันไฮดรอลิคแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมการใช้งาน เช่น การทนไฟ การทนความชื้น ทนแรงดัน เป็นต้น ดังนั้นจึงมีข้อควรพิจารณาในการ เลือกน้ำมันไฮดรอลิค เพื่อใช้ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

น้ำมันไฮดรอลิคกับเครื่องจักรต้องจับคู่กันให้ถูก

เครื่องจักรและน้ำมันหล่อลื่นจะต้องทำงานเป็นหนึ่งเดียวกัน ถามว่าหากใช้ผิดประเภทจะมีผลอะไรมั้ย ในการใช้งานอาจไม่เห็นภาพชัดเจน แต่หากใช้ไปเรื่อยๆ อาจไม่ส่งผลดี เป็นการใช้งานที่ไม่เกิดประสิทธิภาพและอาจทำให้เครื่องจักรเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควร

ถ้าจับคู่ไม่ถูกต้องจะเกิดอะไรขึ้น

  • ประสิทธิภาพการทำงานของระบบไฮดรอลิคลดลง
  • ส่วนประกอบและอะไหล่เครื่องจักรต่างๆ จะมีอายุการใช้ลดลง
  • การหล่อลื่นไม่เพียงพอ
  • อาจมีความร้อนสะสมมากเกินไป
  • เกิดการกัดกร่อน ตกตะกอน และเกิดวานิชในน้ำมัน

สิ่งต้องพิจารณาในการ เลือกน้ำมันไฮดรอลิค

1. ประเภทของน้ำมันพื้นฐาน (Base Oil)

น้ำมันพื้นฐานหรือ Base Oil จะเป็นสารตั้งต้นในการทำน้ำมันไฮดรอลิค ซึ่งมีการแบ่งตามมาตรฐาน API ออกเป็น 5 กรุ๊ปคือ Group I ไปจนถีง Group V โดยน้ำมัน Group ตัวเลขสูงมาก ก็หมายถึงความบริสุทธิ์ของน้ำมันสูงมากเท่านั้น และประสิทธิภาพของน้ำมันจะสูงขึ้นตามไปด้วย เช่น ความสามารถในการทนความร้อนสูง ความสามารถในการทดต่อการแข็งตัวในอุณหภูมิที่ต่ำมากๆ เป็นต้น

2. สารปรุงแต่งน้ำมันไฮดรอลิก (Oil Additive)

เมื่อมีสารตั้งต้นแล้วก็มีสารปรุงแต่ง ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นการแยกประเภทให้เหมาะสมกับการใช้งานของเครื่องจักร ว่าสามารถทำงานได้ดีในสภาวะอะไรบ้าง ซึ่งสารปรุงแต่งแบ่งประเภทเป็น

  • Anti – Ware (AW) สารช่วยป้องกันการสึกหรอจากการเสียดสี ที่เกิดจากชิ้นส่วนเครื่องจักรมีการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน โดยทำหน้าที่เป็น Solid Film โดยเป็นชั้นบางๆ เคลือบผิวโลหะไว้สำหรับกันโลหะกับโลหะสัมผัสกันโดยตรง สารที่พบมากที่สุดคือ Zinc (Zn)
  • Anti – Foaming ช่วยยับยั้งการเกิดฟอง หรือช่วยให้ฟองแตกตัวได้เร็ว ไม่ไปสะสมอยู่ในระบบหล่อลื่น
  • Anti Oxidation สารป้องกันไม่ให้ออกซิเจนทำปฎิกิริยากับเนื้อน้ำมัน เพื่อเป็นการยับยั้งการเสื่อมสภาพของน้ำมันหล่อลื่น
  • ป้องกันสนิม สารเคลือบป้องกันผิวของโลหะ ช่วยในการลดความเสี่ยงการเกิดสนิมเมื่อสัมผัสกับออกซิเจน
  • Pour Point Depressant ช่วยให้น้ำมันหล่อลื่นไม่แข็งตัวที่อุณหภูมิต่ำมากๆ หรือที่อุณหภูมิติดลบ
  • Friction Modifier สารที่เกาะผิวโลหะเพื่อลดค่าความเสียดทาน หรือทำให้ผิวโลหะลื่นขึ้น
  • Viscosity Index Improver สารช่วยลดอัตราการเปลี่ยนแปลงความหนืดของน้ำมันหล่อลื่นเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไป ทำให้ความหนืดยังคงค่าเดิมมากที่สุด
  • Cold Flow สารที่ช่วยให้สามารถใช้งานได้ในสภาวะหนาวจัด

3. ความหนืดของน้ำมันไฮดรอลิก (Viscosity of Hydraulic Oil)

ความหนืดของน้ำมันไฮดรอลิก เป็นการวัดค่าความต้านทานต่อการไหล ซึ่งความหนืดนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบไฮดรอลิก เป็นตัวชี้วัดว่าของเหลวไฮดรอลิกจะต้านทานการบีบอัดในอัตราที่แตกต่างกันไปอย่างไร ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความหนืดที่ใช้ โดยจะใช้เวลาไหลผ่านระบบนานขึ้นเมื่อความหนืดเพิ่มขึ้น แต่น้ำมันไฮดรอลิกที่มีความหนืดสูงก็จะมีความหนา ซึ่งจะทำให้ถูกบีบอัดและเคลื่อนตัวได้ยาก ถ้าความหนืดต่ำจะมีความบางและไหลผ่านระบบได้ง่ายกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งาน

4. จุดวาบไฟของน้ำมัน (จุดวาบไฟ)

จุดวาบไฟ หมายถึงขั้นต่ำสุด อุณหภูมิต่ำสุด ที่ทำให้ของเหลวกลายเป็นไอเพียงพอต่อการเริ่มต้นลุกไหม้ขึ้นเมื่อมีแหล่งจุดติดไฟ แต่มีไม่เพียงพอที่จะลุกติดไฟได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งโดยทั่วไปจุดวาบไฟจะอยู่ที่ 225 องศาเซลเซียส หรือ 440 องศาฟาเรนไฮต์สำหรับน้ำมันแร่  

สนใจช้อปผลิตภัณฑ์น้ำมันไฮดรอลิคยูคอน ได้ที่