ค่า ความหนืดน้ำมันเครื่อง ตามค่ามาตรฐานของ SAE (The Society of Automotive Engineer) หรือสมาคมวิศวกรยานยนต์ ทำหน้าที่ค้นคว้าวิจัย และวางกฎเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวกับรถยนต์ของสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดมาตรฐาน ซึ่งจะประกอบด้วยตัวเลข 2 ชุด คือ SAE XW-XX
ความหนืดน้ำมันเครื่อง ตัวเลขชุดหน้า
จะแสดงถึง การวัดค่ามาตรฐานในเขตหนาว (สัญลักษณ์ W- Winter Grade) จะเป็นการวัดค่าความต้านทานการเป็นไขของน้ำมันเครื่อง โดยวัดตั้งแต่อุณหภูมิที่ 20 องศาเซสเซียส ต่ำลงมาจนถึงจุดเยือกแข็งตั้งแต่ 0 จนถึง -30 องศาเซสเซียส ตัวเลขค่าต่างๆจะสรุป ได้ดังนี้คือ
- 0W คือ ความสามารถในการคงความข้นใสไว้ได้ต่ำกว่า -30 องศาเซสเซียส โดยไม่เป็นไข
- 5W คือ ความสามารถในการคงความข้นใสไว้ได้ถึง -30 องศาเซสเซียส โดยไม่เป็นไข
- 10W คือ ความสามารถในการคงความข้นใสไว้ได้ถึง -20 องศาเซสเซียส โดยไม่เป็นไข
- 15W คือ ความสามารถในการคงความข้นใสไว้ได้ถึง -10 องศาเซสเซียส โดยไม่เป็นไข
- 20W คือ ความสามารถในการคงความข้นใสไว้ได้ถึง 0 องศาเซสเซียส โดยไม่เป็นไข
ตัวเลขชุดหลัง
จะแสดงถึง การวัดค่า ความหนืดน้ำมันเครื่อง ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซสเซียส แทนค่าออกมาเป็นตัวเลขเรียกว่า เบอร์ของน้ำมันเครื่อง เช่น 30, 40, 50 ยิ่งตัวเลขมากแสดงว่า มีความหนืดน้ำมันที่มากขึ้น
ในความเป็นจริงแล้วความหนืด ไม่ได้เป็นตัวบอกคุณภาพของน้ำมันเครื่อง ดังนั้นเราจึงควรเลือกน้ำมันเครื่องที่มีความหนืดที่เหมาะสมกับสภาพของเครื่องยนต์ และสภาพการใช้งานของเรา เช่น หากรถของเราเป็นรถใหม่ ก็ควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่มีเบอร์ความหนืดใส(เบอร์น้อยๆ) จะช่วยในการประหยัดเชื้อเพลิงมากขึ้น เช่น SAE 10W-30 เป็นต้น แต่หากรถเราเก่าแล้ว มีการใช้งานยาวนาน มีระยะทางเกินกว่า 95,000กม. และมีอาการกินน้ำมันเครื่อง ก็ควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่มีเบอร์ความหนืดที่ข้นมากขึ้น เพื่อเพิ่มความหนาในการทำหน้าที่เป็นฟิล์มป้องกันการเสียดสีของชิ้นส่วน แถมยังช่วยลดปัญหาการกินน้ำมันเครื่องได้อีกด้วย เช่น SAE 15W-40 หรือถ้าเก่ามากๆ ส่วนใหญ่เครื่องยนต์จะหลวม ควรใช้น้ำมันเครื่องที่มีความหนืดชนิด SAE 20W-50