หน้าที่ของน้ำมันเครื่อง มีหน้าที่สำคัญอย่างไร ในระบบเครื่องยนต์

หน้าที่ของน้ำมันเครื่อง มีหน้าที่สำคัญอย่างไร ในระบบเครื่องยนต์

หลายๆ คนอาจสงสัยว่า หน้าที่ของน้ำมันเครื่อง มีหน้าที่สำคัญอย่างไร ในระบบเครื่องยนต์ ทำไมต้องเปลี่ยนอย่างสม่ำเสมอ และสาเหตุที่ทำให้น้ำมันเสื่อมสภาพก่อนถึงกำหนดระยะเวลา หรือระยะทางที่กำหนดนั้นเกิดจากอะไร ซึ่งหน้าที่หลักของน้ำมันเครื่องก็คือหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆที่มีการเคลื่อนไหว ในระบบเครื่องยนต์ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่สำคัญอื่นๆ ดังนี้

ผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่อง

หน้าที่ของน้ำมันเครื่อง ต่อระบบเครื่องยนต์

1. หล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆ ที่เคลื่อนไหวภายในเครื่องยนต์ เพื่อลดแรงเสียดทาน และป้องกันการสึกหรอ
ขณะที่เครื่องยนต์ทำงานน้ำมันเครื่องจะเข้าไปแทรกระหว่างชิ้นส่วนต่างๆ ในระบบเครื่องยนต์ จะสร้างฟิล์มบางๆ เคลือบผิวชิ้นส่วนต่างๆ เพื่อป้องกันชิ้นส่วนต่างๆ สัมผัสกันโดยตรง ลดการเสียดสีกันของอุปกรณ์ และป้องกันการสึกหรอ ทำให้อายุการใช้งานของเครื่องยนต์ยาวนานขึ้น

2. ช่วยระบายความร้อนให้แก่เครื่องยนต์
ความร้อนที่เกิดขึ้นกับชิ้นส่วนต่างๆ ในขณะที่เครื่องยนต์ทำงานจะถูกดูดซับความร้อนออกโดยน้ำมันเครื่อง ทำให้อุณหภูมิของชิ้นส่วนต่างๆ ไม่สูงเกินไป และอุณหภูมิของเครื่องยนต์จะถูกควบคุมให้เหมาะสม เพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

3. ชะล้างสิ่งสกปรกต่างๆ ที่เกิดจากการเผาไหม้
ในน้ำมันเครื่องจะมีสารเพิ่มคุณภาพชนิดชะล้างสิ่งสกปรกและเขม่า ทำให้น้ำมันเครื่องสามารถชะล้างสิ่งสกปรก และเขม่าที่เกิดจากการเผาไหม้ที่เกาะติดอยู่ตามชิ้นส่วนต่างๆ ของระบบเครื่องยนต์ได้ โดยสิ่งสกปรก และเขม่าจะไหลปะปนไปกับน้ำมันเครื่อง และจะถูกกรองโดยไส้กรองน้ำมันเครื่องของเครื่องยนต์

4. ช่วยในการรักษากำลังอัด
แรงอัดของเครื่องยนต์เกิดจากลูกสูบ แหวนลูกสูบ และกระบอกสูบ น้ำมันเครื่องจะเข้าไปแทรกอยู่เพื่อป้องกันไม่ให้ก๊าซผ่านช่องว่างเข้าไปได้ ทำให้สามารถป้องกันไม่ให้กำลังอัดไหลออกจากห้องเผาไหม้ที่บริเวณหัวสูบ และรักษากำลังอัดของเครื่องยนต์ไว้ได้

5. ป้องกันสนิมและการกัดกร่อนของชิ้นส่วนเครื่องยนต์
น้ำมันเครื่องจะสร้างฟิล์มบางๆ เคลือบผิวอุปกรณ์ในระบบเครื่องยนต์ ป้องกันการกัดกร่อนจากกรดที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง อีกทั้งยังป้องกันการเกิดสนิม และช่วยลดค่าความเป็นกรด

จะเห็นได้ว่าน้ำมันเครื่องมีหน้าที่สำคัญหลายประการ ดังนั้นจึงต้องมีการเปลี่ยนถ่ายอยู่เสมอเมื่อครบกำหนดตามที่คู่มือการใช้งานของเครื่องระบุไว้ หรือเมื่อน้ำมันเครื่องเสื่อมคุณภาพ ดังนั้นควรหมั่นตรวจเช็คคุณภาพน้ำมัน และการทำงานเครื่องยนต์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาประสิทธิภาพในการทำงานและเพื่อให้เครื่องยนต์มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

สาเหตุที่ทำให้น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพ

น้ำมันเครื่องยนต์แต่ละชนิด ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์เบนซิน หรือเครื่องยนต์ดีเซล จะมีคุณสมบัติแตกต่างกันเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานของเครื่องยนต์แต่ละประเภท และน้ำมันจะเสื่อมสภาพลงไปเรื่อยๆ ตามการใช้งาน จนไม่สามารถทำหน้าที่หล่อลื่นเครื่องยนต์ได้ ซึ่งเกิดจากสาเหตุหลักๆ ดังนี้

1. เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน น้ำมันเครื่องสามารถทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศได้ ซึ่งในน้ำมันเครื่องจะเติมสารเพิ่มคุณภาพชนิดป้องกันการเกิดปฏิกิริยากับออกซิเจนอยู่ แต่เมื่อใช้งานไปเรื่อยๆ สารเพิ่มคุณภาพจะถูกใช้หมดไปและเสื่อมสภาพ ทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของน้ำมันกับออกซิเจนขึ้นได้ง่าย ยิ่งอุณหภูมิในการทำงานสูงๆ ปฏิกิริยาออกซิเดชันยิ่งเกิดได้เร็ว ทำให้น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพ เกิดความเป็นกรดกัดกร่อนเนื้อโลหะในเครื่องยนต์ และเกิดยางเหนียวทำให้ค่าความหนืดสูง และในที่สุด

2. สารเพิ่มคุณภาพถูกใช้หมดไปหรือ เสื่อมสภาพ ในน้ำมันเครื่องมีสารเพิ่มคุณภาพหลายชนิด เมื่อมีการใช้งานไปเรื่อยๆ สารเพิ่มคุณภาพเหล่านั้นจะถูกใช้หมดไป เสื่อมคุณภาพ หรือมีการเปลี่ยนเป็นสารอื่นที่ไม่ช่วยเพิ่มคุณภาพนั้นอีกต่อไป ทำให้น้ำมันเครื่องเสื่อมคุณภาพ และมีคุณสมบัติที่ไม่เหมาะสมต่อการทำงานของเครื่องยนต์

3. สิ่งสกปรกจากภายนอกเข้าไปปนเปื้อนอยู่ในน้ำมันเครื่อง  สิ่งสกปรก เช่น น้ำ ฝุ่น อากาศ หรือเศษโลหะ ทำให้น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพ ความหนืดเปลี่ยนไปจากเดิมและไม่เหมาะสมต่อการใช้งาน ยกตัวอย่าง เช่น เมื่อมีน้ำเข้าไปปนเปื้อน อนุภาคของน้ำจะเข้าไปแทรกตัวในเนื้อน้ำมันจะทำให้น้ำมันเครื่องมีลักษณะขุ่นขาว  หรือมีเศษโลหะปนอยู่ในน้ำมันเป็นจำนวนมาก เศษโลหะจะไปขูดกับผิวโลหะของเครื่องจักร ทำให้เกิดการสึกหรอได้ หรือน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปปนเปื้อนในน้ำมันเครื่อง จะทำให้ความหนืดของน้ำมันเครื่องลดลง เป็นต้น

สนใจช้อปผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่องยูคอน  ได้ที่