ดูด อัด ระเบิด คาย คืออะไร?

ดูด อัด ระเบิด คาย คืออะไร?

สำหรับใครที่อยู่ในวงการรถยนต์ อาจจะคุ้นเคยหรือได้ยินคำว่า ดูด อัด ระเบิด คาย กันมาบ้าง แต่ก็อาจไม่ได้รู้ถึงกระบวนการทำงานหรือที่มาที่ไปของคำนี้กันมากนัก ดังนั้น เราจึงมาอธิบายคำนี้กันให้ชัดๆ เพื่อจะได้เห็นภาพการทำงานของเครื่องยนต์มากยิ่งขึ้น

ดูด อัด ระเบิด คาย คืออะไร?

การดูด อัด ระเบิด คาย คือกระบวนการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์เบนซิน หรือเครื่องยนต์ดีเซล ก็มักจะต้องผ่านกระบวนการทั้ง 4 สเต็ปนี้ด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งเป็นการ ดูดอากาศดีเข้ามา บีบอัดอากาศ จุดระเบิด และคายอากาศเสียออกไป นั่นเอง

กระบวนการทำงานของรถยนต์ 4 จังหวะ

1. จังหวะดูด

สเต็ปแรก จังหวะดูด จะเริ่มกระบวนการของ “ส่วนผสมไอดี” ซึ่งเป็นการผสมกันระหว่างอากาศดีที่เข้ามาจากภายนอกผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิง โดยฉีดฝอยน้ำมันเชื้อเพลิงออกมาจากหัวฉีด แล้วเริ่ม “ดูด” โดยลูกสูบเริ่มต้นอยู่ตำแหน่งบนสุดของกระบอกสูบ ค่อยๆ เคลื่อนลงมาข้างล่างพร้อมกับวาวล์ไอดีที่เปิดออก ดูดเอาไอดีเข้ามา จนไอดีเต็มสูบ

2. จังหวะอัด

สเต็ปต่อไป จังหวะอัด เมื่อเครื่องยนตืได้ดูดไอดีเข้ามาจนเต็ม และกระบอกสูบอยู่ที่จุดล่างสุด ก็ได้เวลาอัด โดยวาล์วไอดีจะปิดไม่ให้อากาศเข้ามาอีก พร้อมกับดันกระบอกสูบขึ้นไปจนถึงจุดสูงสุดที่สามารถอัดได้ ไอดีก็จะถูกอัดแน่นมากที่สุดจนมีอุณภูมิสูงมากถึง 700-900 องศาเซลเซียส ซึ่งมีการคำนวณส่วนผสมเอาไว้แล้วว่ากระบอกจะสูงเท่าใดถึงอัดได้ตามอัตราส่วนตามที่กำหนดไว้

3. จังหวะระเบิด

สเต็ปที่ 3 จังหวะระเบิด เมื่ออากาศหรือไอดีได้ถูกอัดเต็มที่แล้ว จังหวะนี้จะเป็นการจุดระเบิด โดยหากเป็นเครื่องยนต์เบนซิน จะมีหัวเทียนช่วยจุดประกายไฟขึ้นมา เมื่ออากาศที่อัดไว้เจอเข้ากับประกายไฟ ก็จะเป็นการจุดระเบิด และขยายตัว ผลักลูกสูบลงไปข้างล่าง และหากเป็นเครื่องยนต์ดีเซล จังหวะระเบิดนี้จะไม่ใช้หัวเทียน แต่ะจะเป็นการฉีดละอองฝอยของน้ำมันดีเซลเข้าไปผสมกับอากาศที่อัดแล้ว จนติดไฟเกิดการระเบิด และแรงระเบิดนี้จะทำให้เพลาหมุน เป็นการเปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นพลังงานกล เกิดการขับเคลื่อนเครื่องยนต์

4. จังหวะคาย

สเต็ปที่ 4 จังหวะคาย เมื่อผ่านกระบวนการจุดระเบิดเรียบร้อย ลูกสูบจะยกตัวขึ้น พร้อมๆ กับวาล์วไอเสียที่เปิดออก จังหวะนี้อากาศหรือไอเสียที่ผ่านการระเบิดแล้ว จะถูกส่งออกไปทางท่อไอเสียสู่ภายนอกต่อไป และจะกลับไปเข้าสเต็ปที่ 1 อีกครั้ง

เราได้รู้จักกระบวนการทำงานของเครื่องยนต์กันมากขึ้นแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องดูแลควบคู่กันไปก็คือน้ำมันเครื่อง เพราะน้ำมันเครื่องที่ดีจะช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องยนต์ให้ทำงานได้อย่างเต็มที่ และไม่เสียหายก่อนเวลาอันควร

สนใจช้อปผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่องยูคอน ได้ที่