เมื่อมีการใข้งานเครื่องจักรหรือยานยนต์ ย่อมมีการใช้งานของระบบไฮดรอลิค ซึ่งหากใช้งานไปนานๆ ก็ต้องมี การบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิค เพื่อให้ระบบยังคงสามารถทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพและใช้งานต่อไปได้นานๆ
การบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิค
ในการบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิคโดยทั่วไปนั้นควรมี แผนการบำรุงรักษาใน 3 ระดับ ต่อไปนี้
- ตรวจสอบรายวัน: เป็นการตรวจสอบและดูแลระบบไฮดรอลิคประจำวัน ซึ่งเป็นการตรวจสอบแบบง่ายๆ เพื่อเช็คความเรียบร้อยว่าไม่มีอะไรผิดปกติ เช่น ควรตรวจสอบระดับน้ำมันไฮดรอลิค ว่าอยู่ในระดับปกติ ท่อและจุดเชื่อมต่อต่างๆ ว่ามีรอยรั่วซึมหรือมีการแตกหักหรือไม่ สังเกตเสียงของปั๊มไฮดรอลิคว่าทำงานปกติดีหรือมีเสียงที่ผิดปกติไปจากเดิม เป็นต้น
- ตรวจสอบรายสัปดาห์/รายเดือน: มีการวางแผนการบำรุงรักษาที่สม่ำเสมอ อาจจะเป็นรายสัปดาห์ หรือรายเดือน ซึ่งเป็นการตรวจเช็คหาอาการที่อาจเกิดขึ้นบ่อยๆ และเมื่อตรวจพบจะได้แก้ไขได้ทันการ เช่น ตรวจดูสภาพความขุ่นในของน้ำมัน สภาพการทำงานของกรองมีการอุดตันหรือไม่ เป็นต้น
- ตรวจสอบระบบแบบสมบูรณ์: เมื่อมีการใชระบบนานๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้งตรวจเช็คระบบทั้งหมด ซึ่งเป็นการตรวจเช็คครั้งใหญ่แบบละเอียด เพื่อหาจุดบกพร่องที่อาจจะเกิดขึ้นและอาจมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันไฮดรอลิค เปลี่ยนอะไหล่ หรือซ่อมแซม รวมไปถึงการทำความสะอาดอุปกรณ์ และระบบการระบายความร้อนต่างๆ โดยมีกำหนดแผนการตรวจเช็คเช่น เป็นราย 3 เดือน 4 เดือน หรือ รายปี
ข้อปฏิบัติในการบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิค
นอกจากการวางแผนการตรวจเช็คอย่างเป็นระบบสม่ำเสมอแล้วนั้น ต้องมีข้อปฏิบัติอย่างไรบ้าง
- ระบบไฮดรอลิคใหม่ หรือหลังจากมีการถอดเปลี่ยนอะไหล่ มีการซ่อมบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิค อาจมีสิ่งแปลกปนตกเข้าไปในระบบ เช่น สี โลหะ สนิม รวมไปถึงฝุ่นผงต่างๆ ที่มีติดค้างอยู่ในระบบ ดังนั้นจึงควรมีการฟลัชล้างทำความสะอาดระบบด้วยน้ำมันไฮดรอลิค
- ต้องดูแลเรื่องความสะอาดอย่างดี โดยเฉพาะในส่วนจอง น้ำมันไฮดรอลิก และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบปั๊มมีการใช้งานได้ดีและไม่มีสิ่งอุดตัน ระบบกรองสะอาดดีหรือไม่ ไส้กรองควรเปลี่ยนหรือยัง มีการล้างไส้กรองเพื่อดูว่ามีอะไรติดมากับไส้กรองบ้าง ถ้ามีเศษโลหะมากอาจเป็นไปได้ว่าระบบมีการสึกหรอ ควรหาสาเหตุของการสึกหรอแล้วเปลี่ยนน้ำมันใหม่ เป็นต้น
- หมั่นตรวจการทำงานว่าทำงานได้ดี สังเกตฟังเสียงว่าปกติดีหรือไม่
อะไรบ้างที่ต้องตรวจเช็ค
- รักษาสภาพสารหล่อลื่นให้สะอาด แห้ง และเย็น
- ใช้น้ำมันไฮดรอลิคที่มีคุณภาพและความหนืดถูกต้อง
- ติดตั้งกรองน้ำมันในจุดที่ถูกต้อง
- ติดตั้ง Offline Filter ที่มีประสิทธิภาพ
- เปลี่ยนกรองน้ำมัน โดยขึ้นกับประสิทธิภาพการทำงานของกรอง
- ตรวจสอบข้อต่อต่างๆ ป้องกันอากาศไม่ให้รั่วเข้าสู่ระบบ
- เมื่อมีการเปลี่ยนถอดประกอบหรือซ่อมบำรุง ควรมีฝาปิดปลายท่อต่างๆ
- ติดตั้งตำแหน่งเก็บตัวอย่างน้ำมัน Primary และ Secondary
- ทำ Oil analysis อย่างสม่ำเสมอ
- Flush ระบบใหม่ก่อนใช้งาน
- Flush ระบบน้ำมัน หลังจากการซ่อมบำรุงครั้งใหญ่
- ถอด Servo Valves และ Actuators ออกมา Flushing เป็นครั้งคราว
- ตรวจดูรอยรั่วของน้ำมัน
- เช็คระดับของน้ำมัน
- ติดตั้ง Air Breather หรือ Desiccant Breather
- หมั่นตรวจเช็คปั๊มและมอเตอร์ ว่ามีการติดตั้งไม่เยื้องศูนย์หรือไม่