จาระบี เป็นสารหล่อลื่นกึ่งของเหลวกึ่งของแข็ง จึงมีความเหนียวข้น และสามารถใช้หล่อลื่นในจุดที่น้ำมันหล่อลื่นไม่สามารถทำได้ ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ จาระบีมีสารประกอบกี่ชนิด เรามาดูส่วนประกอบของจาระบีกันเลย
จาระบีมีสารประกอบกี่ชนิด แบ่งเป็น 3 ประกอบหลัก ดังนี้
1. น้ำมันพื้นฐาน (Base Oil)
น้ำมันพื้นฐาน ถือเป็นองค์ประกอบหลักของจาระบี โดยใช้เป็นส่วนผสมเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 70-90 โดยน้ำมันพื้นฐานที่นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของจาระบี ก็จะมีคุณสมบัติของน้ำมันที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้งาน แบ่งน้ำมันพื้นฐานออกเป็น 3 ชนิดคือ
- น้ำมันแร่: เป็นน้ำมันพื้นฐานประเภทที่น้ำมาใช้ผลิตจาระบีมากที่สุด เพราะมีราคาถูก แต่มีคุณสมบัติที่จำกัด ซึ่งน้ำมันแร่นี้ได้จากการกลั่นเอาน้ำมันดิบมาผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อขจัดเอาสารที่ไม่ต้องการออกเพื่อให้มีความอยู่ตัวเชิงเคมี และเชิงความร้อนดี
- น้ำมันจากพืช หรือ น้ำมันจากสัตว์ (Vegetable or Animal Oils): เป็นน้ำมันที่ได้มาจากธรรมชาติ โดยน้ำมันจากพืชส่วนใหญ่ผลิตมาจาก น้ำมันปาล์ม น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว เป็นต้น และน้ำมันจากสัตว์มักผลิตมากจาก น้ำมันหมู น้ำมันโคกระบือ และน้ำมันปลา เป็นต้น
- น้ำมันสังเคราะห์ (Synthetic Oils): เป็นน้ำมันที่มาจากกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมี โดยปัจจุบันใช้น้ำมันปิโตรเลียมเป็นหลักในการนำมาสังเคราะห์ แต่ด้วยกระบวนการที่ต้องสังเคราะห์น้ำมันออกมา จึงทำให้จาระบีที่ได้จากน้ำมันสังเคราะห์มีราคาแพง มักนำไปใช้งานที่มีความเฉพาะเจาะจงมากๆ เช่น งานที่ต้องทนต่ออุณหภูมิสูง เป็นต้น
2. สารเพิ่มคุณภาพ (Additives)
สิ่งที่ทำให้คุณสมบัติของจาระบีแต่ละชนิดแตกต่างกันก็คือ สารเพิ่มคุณภาพ และยังมีคุณสมบัติที่ช่วยเพิ่มคุณภาพอีกหลายชนิด ที่นอกจากจะช่วยในเรื่องการใช้งาน ก็ยังช่วยบำรุงรักษาเครื่องจักรที่ใช้งานอยู่ ให้ใช้งานได้คงทนยาวนาน โดยสารเพิ่มคุณภาพ มีอยู่หลายชนิด ดังนี้
- สารป้องกันการสึกหรอ (Anti-wear)
- สารป้องกันการเกิดออกซิเดชั่น (Oxidation Inhabitors)
- สารป้องกันสนิม (Rust & Corrosion Inhibitors)
- สารรับแรงกดสูง (EP Agent)
- สารปรับดัชนี้ความหนืด (VI Improvers)
- สารขับน้ำ
- สารป้องกันการยึดติด
- สารหล่อลื่นที่เป็นของแข็ง เช่น กราไฟต์
3. สารอุ้มน้ำมัน
สารอุ้มน้ำมันในจาระบี จะเป็นสารจำพวกสบู่โลหะ เป็นการช่วยเพิ่มคุณสมบัติของจาระบีในการหล่อลื่น เช่น เพิ่มประสิทธิภาพให้ทนความร้อน และทนน้ำได้ดี ซึ่งสารอุ้มน้ำมันแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับสบู่โลหะแต่ละประเภท และคุณสมบัติของสารอุ้มน้ำมัน ยังทำให้น้ำมันพื้นฐานคงสภาพได้ดีขึ้น แต่จะค่อยๆ เปลี่ยนหรือลดความหนืดลงเมื่อเกิดความร้อนเพื่อทำหน้าที่ในการหล่อลื่น และกลับสู่สภาพเดิมเมื่อความร้อนลดลง
รู้ที่มาที่ไปของจาระบีกันแล้ว ก็จะรู้ว่าจาระบีแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน และจาระบีแต่ละชนิดก็เหมาะสมกับการใช้งานในสภาพแวดล้อมแตกต่างกันไป ดังนั้นจึงควรเลือกใช้จาระบีให้เหมาะสมกับการใช้งาน แต่ถ้าหากไม่มั่นใจว่าควรเลือกจาระบีชนิดอะไรดี แนะนำเป็นจาระบีอเนกประสงค์ ที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งานมากกว่า สามารถใช้กับงานได้หลากหลายรูปแบบได้ดี