น้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร

น้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร? ควรเติมแบบไหนดี?

น้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร? ควรเติมแบบไหนดี? น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นแหล่งพลังงานหลักของรถยนต์ ที่ใช้ในการขับเคลื่อน โดยเกิดจากการเผาไหม้ในห้องเครื่องยนต์ ในประเทศไทยของเรา มีน้ำมันเชื้อเพลิงให้เลือกเติมหลากหลาย แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ เบนซิน และดีเซล ซึ่งราคาก็แตกต่างกันไป เรามาดูกันว่า น้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร? และรถที่เราใช้อยู่ ควรเติมน้ำมันเชื้อเพลิงแบบไหนดี?

น้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร

น้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร ? ควรเติมแบบไหนดี ?
credit energynewscenter

น้ำมันเชื้อเพลิงเบนซิน

เป็นเชื้อเพลิงที่กลั่นออกมาจากน้ำมันดิบ และนำมาปรับปรุงคุณภาพ เรียกว่า ออกเทน ซึ่งความเข้มข้น ของค่าออกเทนนั้น ขึ้นอยู่กับการใช้งานแต่ละประเภท เช่น เครื่องบิน, รถยนต์ เป็นต้น ส่วนใหญ่ที่เราเห็นกันบ่อยๆ จะเป็นตัว เบนซินออกเทน 95 หรือเรียกง่ายๆว่า เบนซิน 95 ที่มีความเข้มข้นสูงสุดที่ใช้กันในรถยนต์บ้านเรา

  • เบนซินออกเทน 95

หรือเรียกง่ายๆว่า เบนซิน 95 เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีความเสถียรที่สุด และมีราคาสูง สามารถใช้ได้กับรถยนต์แทบทุกประเภท มีค่าออกเทนสูงอยู่ที่ 95% ทำให้การเผาไหม้ของเครื่องยนต์สมบูรณ์และสะอาด การตอบสนองในการขับขี่เต็มประสิทธิภาพ

  • เบนซินออกเทน 91

เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ที่มีค่าออกเทนอยู่ที่ 91% มีอัตราการเร่ง และการตอบสนอง ต่ำกว่าเบนซินออกเทน 95 เล็กน้อย ปัจจุบันภาครัฐ ทำการยกเลิกการขายน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดนี้ไปแล้ว

ปั้มน้ำมันเชื้อเพลิง
credit siamrath

น้ำมันแก๊สโซฮอล์

เริ่มจากแนวคิดพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในการหาสิ่งทดแทนพลังงานของน้ำมัน กับการแก้ปัญหาราคาตกต่ำของพืชผัก โดยแนวทางหลักๆ คือ ใช้แอลกอฮอล์ที่สกัดจากพืชของเกษตรกรไทย เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด ข้าว และอ้อย ที่เรียกว่า เอทานอล หรือ เอทิลแอลกอฮอล์ มาผสมผสานกับน้ำมันเบนซิน จนกลายมาเป็นพลังงานทดแทน แก๊สโซฮอล์ (Gasohol) ในปัจจุบัน ซึ่งสังเกตเห็นได้ว่า จะมี ตัว E และตามด้วยตัวเลข นั้นก็คือ จำนวนเปอร์เซ็น ที่มีเอทานอลผสมอยู่นั่นเอง

  • น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95(E10)

เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงในกลุ่มของแก๊สโซลีน ที่ถูกผลิตมาให้ใช้แทน เบนซินออกเทน 95 โดยมีส่วนผสมของ น้ำมันเบนซินออกเทน 95 : 9 ส่วน และเอทานอล(เอทิลแอลกอฮอล์)ที่มีความบริสุทธิ์ 99.5% : 1 ส่วน ทำให้แก๊สโซฮอล์ที่ออกมามีออกเทนเทียบเท่ากับ เบนซิน 95 ส่วนใหญ่ในปั้มน้ำมัน จะมีให้บริการมากกว่าน้ำมันที่เป็นออกเทน 95

  • น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91(E10)

เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของ น้ำมันเบนซินออกเทน 91: 9 ส่วน ผสมกับเอทานอล ที่มีความบริสุทธิ์ 99.5% : 1 ส่วน มีข้อดีคือ ราคาถูก และเป็นที่นิยมอย่างมาก ไม่มีผลกระทบต่อสมรรถนะเครื่องยนต์ และอัตราการเร่งไม่แตกต่างจากน้ำมันเบนซินออกเทน 91 มากนัก

  • น้ำมันแก๊สโซฮอลล์ E20

เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของ น้ำมันเบนซินออกเทน 95 : 80% ผสมกับเอทานอล 20% มีราคาถูก ประสิทธิภาพการใช้งาน อัตราในการเร่งจะด้อยกว่าแก๊สโซฮอล์ 95 และ 91 เน้นการใช้งานในเมืองเป็นหลัก

  • น้ำมันแก๊สโซฮอลล์ E85

เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของ น้ำมันเบนซินออกเทน 95 : 15% ผสมกับเอทานอล 85% เป็นน้ำมันที่มีราคาถูกที่สุด เพราะมีปริมาณส่วนผสมของน้ำมันเบนซินออกเทนที่ค่อนข้างน้อย มีการระเหยสูง เพราะมีส่วนผสมของแอลกอฮอลมาก หากมีการขับขี่ในระยะทางไกลๆ เป็นระยะเวลานาน จะสังเกตได้ถึงการเผาไหม้ที่ไวกว่าน้ำมันชนิดอื่น เเม้จะมีราคาถูก แต่ก็ต้องเติมน้ำมันบ่อยกว่าชนิดอื่นๆ และสมรรถนะในการขับขี่ ไม่เทียบเท่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินแบบธรรมดา น้ำมันแก๊สโซฮอลล์ E85 ต้องใช้กับรถยนต์ FFV (Flexible Fuel Vehicle) เท่านั้น หากรถของคุณไม่ได้ระบุว่าสามารถเติมน้ำมันแก็สโซฮอล์E85 ก็ห้ามเติมโดยเด็ดขาด เพราะจะส่งผลให้เครื่องยนต์เร่งไม่ขึ้น สะดุด และสตาร์ทติดยาก

credit ministry of energy

น้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล

เป็นส่วนหนึ่งของน้ำมันดิบที่ได้จากโรงกลั่นน้ำมัน (เช่นเดียวกับน้ำมันเบนซิน) ซึ่งเป็นน้ำมันที่เรียกว่า น้ำมันใส หรือ Distillate Fuel มีจุดเดือดสูง อยู่ที่ประมาณ 180-370 องศาเซลเซียส เครื่องยนต์ดีเซลเป็นเครื่องยนต์ที่มีแรงอัดสูง (High Compression) และสามารถจุดระเบิดได้เอง การจุดระเบิดของเชื้อเพลิงชนิดนี้เกิดขึ้นมาจากความร้อนของแรงอัดสูงของอากาศในกระบอกสูบ โดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้หัวเทียน น้ำมันดีเซล สามารถแบ่งตามคุณสมบัติที่ใช้ คือ

  • น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (HSD: High Speed Diesel Oil)

เป็นที่รู้จักกันในชื่อ น้ำมันโซล่า ใช้กับเครื่องยนต์ที่มีความเร็วรอบสูงเกิน 1,000 รอบต่อนาทีขึ้นไป (Automotive Diesel Oil หรือ Gas Oil) เช่น รถยนต์, รถบรรทุก, เรือประมง, เรือโดยสาร, รถแทรกเตอร์ เครื่องยนต์ประเภทนี้ จำเป็นต้องใช้น้ำมันที่มีค่าซีเทนสูงและมีการะเหยเร็ว มิฉะนั้นเครื่องยนต์จะเดินไม่สะดวก ถ้าใช้กับเรือเดินสมุทรมักเรียกว่า Marine Gas Oil

  • น้ำมันดีเซลหมุนช้า (LSD: Low Speed Diesel Oil)

ใช้กับเครื่องยนต์ที่มีความเร็วรอบต่ำกว่า 1,000 รอบต่อนาที (Industrial Diesel Oil) เช่น เครื่องจักรกล เป็นน้ำมันผสมระหว่างน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (Distillate Fuel) และน้ำมันเตา (Fuel Oil, FO หรือ Heavy Fuel Oil, HFO) ในอัตราส่วนที่มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดของหระทรวงพาณิชย์

แน่นอนอยู่แล้วว่า เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล และห้ามใช้น้ำมันเบนซินเด็ดขาด เพราะหลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซลกับเบนซินจะแตกต่างกัน เช่น การจุดระเบิดภายในห้องเผาไหม้ การจ่ายน้ำมัน หากมีการเติมน้ำมันผิดประเภทเข้าไป จะส่งผลเสียโดยตรงต่อเครื่องยนต์ (คลิก เติมน้ำมันผิดประเภท แก้ไขอย่างไรดี?)

น้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล จะมีสูตรที่ตายตัว แต่ในปั้มน้ำมันบางแห่ง จะมีน้ำมันดีเซลตัวพิเศษ ซึ่งเรียกว่า ดีเซลเกรดพรีเมียม ซึ่งจะมีราคาสูง แต่ส่งผลดีกับเครื่องยนต์มากกว่าน้ำมันดีเซลเกรดปกติ

  • น้ำมันดีเซล เกรดพรีเมี่ยม

น้ำมันดีเซลเกรดพรีเมียม ของแต่ละแบรนด์ จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยส่วนใหญ่จะเป็นน้ำมันตัวพิเศษ ที่มีราคาสูงกว่าแบบปกติ ข้อดีคือ มีการเผาไหม้ที่หมดจด ประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ทำงานได้อย่างเต็มที่ ช่วยชะล้างสิ่งสกปรกภายในเครื่องยนต์ได้

ไบโอดีเซล
credit transtimenews
  • ไบโอดีเซล

เป็นเชื้อเพลิงเหลวที่ผลิตจากน้ำมันพืชและไขมันสัตว์ เช่น ปาล์ม สบู่ดำ มะพร้าว ทานตะวัน ถั่วเหลือง เมล็ดเรพ และน้ำมันพืช/น้ำมันสัดว์ที่ผ่านการใช้งานแล้ว นำมาทำปฏิกิริยาทางเคมี “transesterification” ร่วมกับเมทานอลจนเกิดเป็น สารเอสเตอร์ ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซล เรียกว่า “ไบโอดีเซล” หรือ “B100” ซึ่งในปัจจุบัน

  • น้ำมันไบโอดีเซล B7

น้ำมันไบโอดีเซล B7 คือ น้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่มีส่วนผสมของไบโอดีเซล 7% และสารเติมแต่งคุณภาพสูงที่ช่วยชะล้างทำความสะอาดเครื่องยนต์ ป้องกันการเกิดสนิม ลดมลพิษ

  • น้ำมันไบโอดีเซล B10

น้ำมันไบโอดีเซล B10 คือ น้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่มีส่วนผสมของไบโอดีเซล 10% แต่ทางกระทรวงพลังงาน เตรียมออกประกาศ ในวันที่ 1 ต.ค. 2563 นี้ เปลี่ยนชื่อน้ำมันดีเซล B10 เป็น ดีเซล

  • น้ำมันไบโอดีเซล B20

น้ำมันไบโอดีเซล B20 เป็นน้ำมันดีเซลที่ถูกปรับปรุงให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และมีราคาประหยัด โดยรถที่จะเติมน้ำมันไบโอดีเซล B20 ได้จะต้องเป็นรถที่ผ่านมาตรฐาน EURO 4 เท่านั้นจึงจะรองรับ โดยส่วนผสมหลักของน้ำมันชนิดนี้คือ ไบโอดีเซลเมทิลเอสเตอร์ (B100) ในอัตราส่วน 20% และน้ำมันดีเซล 80% แต่ในปัจจุบัน กรมธุรกิจพลังงานเตรียมยกเลิกการจำหน่าย ดีเซล B20 แล้วในอนาคต

เชื้อเพลิงอื่นๆเพิ่มเติม

แก๊ส LPG
credit thai pbs
  • ก๊าซ LPG

หรือก๊าซหุงต้ม Liquefied Petroleum Gas หรือ แก๊สปิโตรเลียมเหลว เป็นก๊าซที่ได้จากกระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติ และขบวนการกลั่นน้ำมัน เป็นสารประกอบพวกไฮโดรคาร์บอน ประกอบด้วยก๊าซโปรเปน และบิวเทนเป็นส่วนประกอบหลัก มีคุณสมบัติหนักกว่าอากาศประมาณ 1.5-2 เท่า ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่เป็นพิษ จึงต้องเติมกลิ่นเหม็น(Ethyl Mercaptan) ลงไป เพื่อให้รู้ว่าก๊าซรั่ว ซึ่งอาจทำให้ติดไฟได้ และขยายตัวเมื่ออุณหภูมิสูง เมื่อมีการเผาไหม้จะมีมลภาวะต่ำกว่าน้ำมัน

ก๊าช NGV
credit thairath
  • ก๊าซ NGV

ก๊าช NGV หรือ Natural Gas Vehicles คือ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ เกิดขึ้นจากการนำก๊าซธรรมชาติ (ส่วนใหญ่เป็นก๊าซมีเทน) มาอัดจนมีความดันสูง ประมาณ 3,000 ปอนด์/ตารางนิ้ว แล้วนำไปเก็บไว้ในถังที่มีความแข็งแรง ทนทานสูงเป็นพิเศษ เพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงใช้ทดแทนน้ำมันเบนซิน หรือดีเซล ซึ่งสากลเรียกว่า Compressed Natural Gas (CNG) หรือ ก๊าซธรรมชาติอัด หากเกิดการรั่วไหลจะฟุ้งกระจายไปตามบรรยากาศอย่างรวดเร็ว

นอกจากประเภทของน้ำมันเชื้อเพลิงที่เราควรรู้แล้ว สิ่งสำคัญอีกข้อหนึ่งคือ เราต้องรู้ด้วยว่า รถยนต์ของเรานั้นสามารถเติมน้ำมันประเภทใดได้บ้าง เพราะรถแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อจะแตกต่างกัน เราสามารถดูได้จากคู่มือรถ หรือเปิดฝาถังน้ำมันด้านในจะมีสติ๊กเกอร์ระบุเอาไว้

สนใจช้อปผลิตภัณฑ์น้ำยาหล่อเย็น และน้ำมันเครื่องยูคอน  ได้ที่