คุณสมบัติการทำงานของจาระบีคืออะไร
1. จาระบีช่วยลดรอยรั่ว หรือช่องว่างระหว่างโลหะ ป้องกันชิ้นส่วนเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์จากวัตถุอื่น ๆ หรือ ฝุ่น
2. ง่ายในการใช้งานกว่าน้ำมันหล่อลื่น เพราะการหล่อลื่นด้วยน้ำมันต้องอาศัยระบบและอุปกรณ์ที่มีราคาแพง
3. จาระบีจะต้องยึดจับของแข็งที่เป็นสารแขวนลอย ในขณะที่ถ้าเป็นน้ำมันหล่อลื่นสารแขวนลอยจะกระจายตัวในน้ำมัน
จาระบีมีคุณสมบัติในการหล่อลื่นเหมือนน้ำมันหล่อลื่น ถ้าจะใช้น้ำมันหล่อลื่นแทนได้หรือไม่
จาระบีและน้ำมันหล่อลื่นใช้แทนกันไม่ได้ จาระบี จะทำหน้าที่เกาะติด และรักษาพื้นผิวที่มีการเคลื่อนที่ เพราะบริเวณนั้นจะมีการเสียดสีทำให้หน้าสัมผัสเกิดความเสียหาย มีความเสถียรรักษาคุณสมบัติของเฉพาะตัวเอาไว้แม้ว่าอุณหภูมิในการทำงานจะสูงขึ้น น้ำมันหล่อลื่นจะถูกใช้ในงานหล่อลื่นเครื่องจักร ซึ่งมีการกำหนดให้ใช้น้ำมันหล่อลื่นตามเกรดที่กำหนดเอาไว้เท่านั้น เราจะใช้จาระบีก็ต่อเมื่อในทางปฏิบัตินั้นไม่สะดวกที่จะใช้น้ำมันหล่อลื่น
จาระบีมีสีเปลี่ยนไป จะมีผลต่อการใช้งานหรือไม่
ถ้าสีของจาระบีลอตใหม่ไม่เหมือนกับลอตเดิม อาจจะอ่อนหรือเข้มกว่าเดิม จะไม่เกี่ยวกับประสิทธิภาพ เกิดจากค่าสีที่ใส่ในจาระบี แต่ถ้าเปลี่ยนไปเช่นดำขึ้น นั่นหมายถึงจาระบีไหม้ เพราะเลือกใช้จาระบีไม่เหาะสมกับงานที่ทำ
เนื้อที่แข็งหรืออ่อนนุ่มของจาระบีมีผลต่อการรับแรงกดหรือไม่
ค่าความแข็งของเนื้อจาระบีไม่มีผลต่อการรับแรงกด แต่มีผลกับการต่อการไหลในท่อ และการสลัด ดังนั้นวิธีการเลือกใช้จาระบีก็คือ ถ้าต้องการให้ไหลในท่อได้ดีให้ใช้เบอร์ต่ำ เช่น 0 หรือ 1 ถ้าต้องการให้ทนต่อการสลัดต้องใช้เบอร์สูง ๆ
การเลือกใช้จาระบีควรพิจารณาอย่างไร
1. อุณหภูมิการทำงาน – จาระบีแต่ละชนิดมีส่วนผสมต่างกันจึงทำให้ทนอุณหภูมิได้ไม่เท่ากัน ดังนั้นต้องเลือกจาระบีให้สอดคล้องกับอุณหภูมิในการทำงานของเครื่องจักร เพราะ จาระบีจะเยิ้มเหลวทะลักออกมาจากจุดหล่อลื่น
2. สภาวะน้ำหนัก – งานที่ต้องรับน้ำหนักมากจำเป็นต้องเลือกจาระบีที่ประกอบด้วย น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานความหนืดสูง ในบางกรณีที่มีสภาวะน้ำหนักสูงมากก็จำเป็นต้องใช้จาระบีที่มีสารเพิ่มคุณภาพประเภทป้องกันการสึกหรอหรือรับแรงกดสูง
3. การทนน้ำ – จาระบีแต่ละชนิดจะมีสารอุ้มน้ำมันต่างกันทำให้ความสามารถในการทนต่อน้ำต่างกัน ในงานที่มีความชื้นสูงหรือต้องสัมผัสกับน้ำจำเป็นต้องเลือกจาระบีที่มีคุณสมบัติทนน้ำได้ดี ใช้ YUKON CHASSIS GREASE 2
4. ความเร็วรอบ – แบริ่งที่มีความเร็วรอบสูงจำเป็นต้องเลือกจาระบีที่มีความหนืดต่ำ ส่วนแบริ่งที่มีความเร็วรอบต่ำจำเป็นต้องมีความหนืดสูงขึ้น โดยทั่วไปจาระบีเอนกประสงค์ จะมีความอ่อนแข็งอยู่ในระดับเบอร์ 2 และ 3 ใช้ YUKON ACADIA G1 หรือ YUKON ACADIA G2
5. วิธีการอัด – สำหรับระบบจ่ายจาระบีอัตโนมัติ วิธีการอัดแบบนี้ควรใช้จาระบีที่ค่อนข้างอ่อน มีความแข็งไม่เกิน NLGI เบอร์ 2 ส่วนวิธีการอัดจาระบีด้วยกระบอกอัดหรือปืนอัดก็ไม่ควรใช้จาระบีที่แข็งเกิน NLGI เบอร์ 3 หากเป็นการใช้มือป้าย ความอ่อนแข็งก็ไม่มีความสำคัญนัก ใช้ YOKON ACADIA G1 เบอร์ 2, 3