ระบบเบรคแบบไหนดีกว่ากัน ดรัมเบรค(Drum Brake) หรือดิสค์เบรค(Disc Brake)? ถ้าพูดถึงตัวช่วยเรื่องความปลอดภัยในการขับขี่ หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้น ระบบเบรค ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้กันอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ ระบบเบรคแบบดิสค์เบรค(Disc Brake) และแบบดรัมเบรค(Drum Brake) แต่ก็มีรถยนต์บางรุ่นที่มีการใช้ระบบเบรคทั้ง 2 แบบในคันเดียว เรามาดูกันว่า ทั้ง 2 แบบ ทำงานอย่างไร และมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้าง? ระบบเบรคแบบไหนดีกว่ากัน แน่?
ดรัมเบรค(Drum Brake)
ระบบเบรคแบบ ดรัมเบรค(Drum Brake) เป็นระบบเบรคที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ในช่วงแรก หลักการทำงานของระบบดรัมเบรค จะทำงานโดยใช้หลักการของแรงผลัก เพื่อทำให้ล้อรถเกิดแรงเฉื่อย ซึ่งภายในตัวดรัมเบรกจะมีผ้าเบรคโค้งๆ ด้านในเรียกว่า ก้ามปูเบรค หรือ ฝักเบรค สปริง และลูกสูบที่ต่อเข้ากับสายเบรก เมื่อเหยียบเบรค ผ้าเบรกโค้งๆ ด้านใน จะถูกแม่ปั๊มดันให้ไปติดเข้ากับด้านในของฝาครอบเบรค (Drum) ซึ่งฝาครอบเบรคจะยืดติดกับล้อรถอีกที เพื่อสร้างแรงเฉื่อยให้กับรถ ชะลอความเร็ว และหยุดรถได้ในที่สุด
ข้อดี-ข้อเสีย ของระบบ ดรัมเบรค(Drum Brake)
ข้อดี
- สามารถช่วยเพิ่มแรงจับประกบกับฝาครอบเบรกได้อัตโนมัติ
- ไม่ต้องใช้แรงเหยียบเบรคมาก ก็สามารถชะลอความเร็ว และหยุดรถได้
- มีกำลังหยุดรถสูง เหมาะกับรถที่ใช้บรรทุกของหนักๆ
ข้อเสีย
- เมื่อมีการใช้งาน จะมีความร้อนสะสมสูง ถ่ายเทความร้อนได้ยาก
- การตอบสนองค่อนข้างช้า
- ระบายน้ำได้ไม่ค่อยดี และดูแลรักษายาก เพราะเป็นระบบปิด
ดิสก์เบรก(Disc Brake)
ระบบเบรคแบบ ดิสก์เบรค(Disc Brake) หลักการทำงานของระบบระบบ ดิสก์เบรค คือ เมื่อเหยียบเบรก แม่ปั้มจะดันผ้าเบรกไปหนีบกับจานเบรกของล้อรถ ส่งผลให้รถมีการชะลอความเร็ว และหยุดได้ในที่สุด รถส่วนมากจะนิยมใช้ระบบดิสก์เบรกกับล้อหน้า แต่ถ้าหากเป็นรถที่มีสมรรถนะสูงก็จะใช้ดิสก์เบรกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
ข้อดี-ข้อเสีย ของระบบดิสก์เบรค(Disc Brake)
ข้อดี
- ระบายความร้อน และระบายน้ำได้ดี
- สามารถตอบสนองต่อการหยุดรถได้ดี
- บำรุงรักษาง่าย
- มีความสวยงามและเท่กว่า ระบบดรัมเบรก ผู้ที่ชื่นชอบการแต่งรถมักเลือกใช้
ข้อเสีย
- กำลังในการหยุดรถน้อยกว่าระบบดรัมเบรก
- ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสูง
- ผ้าเบรกหมดไว จึงทำให้ต้องมีการเปลี่ยนผ้าเบรกบ่อย
- ใช้แรงเหยียบเบรคมากกว่าระบบดรัมเบรก แต่เราจะรู้สึกว่าออกแรงน้อย เพราะมีระบบช่วยผ่อนกำลัง คือ หม้อลมเบรค หรือ Power booster