รถยนต์มีกี่ประเภท

รถยนต์มีกี่ประเภท และแตกต่างกันอย่างไร?

คุณรู้หรือไม่ว่า รถยนต์มีกี่ประเภท และแตกต่างกันอย่างไร? นอกจากราคา และรูปลักษณ์ภายนอกแล้ว การแบ่งประเภทรถยนต์นั้น สามารถแบ่งได้โดยวัดกันที่ขนาดของรถ ขนาดของเครื่องยนต์ รวมถึงเรื่องอุปกรณ์ภายในอีกด้วย 

รถยนต์มีกี่ประเภท แบ่งตาม Segment ได้ดังนี้

A Segment

ถ้าจะถามว่า รถยนต์มีกี่ประเภท เราสามารถแบ่งแยกย่อยประเภทรถยนต์ได้หลายแบบ เริ่มกันที่รถยนต์ประเภท A – Segment จะเป็นรถยนต์ที่มีขนาดเล็ก มีความคล่องแคล่วในการขับขี่ และการเข้าซอยแคบๆ เป็นรถที่มีขนาดเครื่องยนต์ 660 cc. ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 1000 cc. ในประเทศญี่ปุ่นจะเรียกรถประเภทนี้ว่า “Kei Car”

รถยนต์มีกี่ประเภท A Segment keicar
credit : chobrod

B Segment

รถยนต์ประเภท B Segment จะมีขนาดใหญ่กว่ารถยนต์ประเภท A Segment เหมาะสำหรับกลุ่มวัยทำงานที่ต้องการมีรถเอาไว้ใช้งาน หรือมีครอบครัวขนาดเล็ก ภายในจะมีพื้นที่บรรทุกสัมภาระได้พอสมควร เป็นรถยนต์ที่มีขนาดเครื่องยนต์ประมาณ 1,000 cc. ถึง 1,500 cc. ซึ่งในประเทศไทย จะแบ่งรถประเภท B – Segment ย่อยออกอีกสองประเภทอีก คือ

  • รถยนต์ Eco Car (อีโคคาร์) ก็ถือว่าจัดอยู่ในรถยนต์ประเภท B Segment ส่วนใหญ่จะมีขนาดเครื่องยนต์ประมาณ 1,200 cc. เช่น Suzuki Celerio, Honda Brio, Mitsubishi Attrage, Nissan Almera และรถยนต์ Toyota Yaris เฉพาะรุ่นที่ผลิตตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นไป
  • รถยนต์ที่มีขนาดเครื่องยนต์มากกว่า 1,200 cc. ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 1,500 cc. มีขนาดเครื่องยนต์ใหญ่กว่ารถ Eco Car (อีโคคาร์) แต่ก็ถือว่ายังเป็นรถประเภท B- Segment เช่นกัน ส่วนใหญ่จะมีออฟชั่นเสริมเพิ่มขึ้นให้กับตัวรถ เช่น รถยนต์ Honda City, Honda Jazz, Toyota Vios และ Mazda2 เป็นต้น
ecocar
credit : brandinside

C Segment

รถยนต์ประเภท C Segment หรือ Compact Car ขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่ มีการเสริมแต่งเครื่องยนต์ และระบบช่วงล่าง มีการเพิ่มสมรรถนะให้ดีมากยิ่งขึ้น รถยนต์ประเภท C Segment จะมีขนาดเครื่องยนต์ประมาณ 1,500 cc. ถึง 2,200 cc. และจะมีความยาวของรถประมาณ 4.4 -4.75 เมตร เช่น Toyota Altis, Honda Civic, และ Mazda3 เป็นต้น

civic

D Segment

รถยนต์ประเภท D Segment เป็นรถที่มีการตกแต่งภายใน เน้นความหรูหรา ใช้วัสดุที่ดีมากขึ้น มีขนาดเครื่องยนต์ประมาณ 2,400 cc ขึ้นไป ตัวรถ ขนาดเครื่องยนต์ใหญ่กว่ารถยนต์ประเภท C Segment เช่น Toyota Camry, Honda Accord, Nissan Teana, Mazda6, BMW 3-Series, Audi A4, Mercedes-Benz C-Class และ Lexus IS

Audi A4

Luxury Car

เป็นรถยนต์ที่เน้นความหรูหรา ทั้งการตกแต่ง และวัสดุที่นำมาใช้ รวมถึงเครื่องยนต์ที่มีสมรรถนะสูง ส่วนใหญ่ระดับผู้บริหารมักเลิกใช้ สำหรับรถประเภท Luxury Car จะมีการแยกออกมาได้อีก 3 ขนาด คือ

  • Entry Level Luxury / Compact Executive Car ตัวรถจะมีขนาดเท่ากับ Compact Car เช่น Mercedes-Benz C-Class, Lexus IS, Audi A4 และ BMW Series3 เป็นต้น
  • Mid-Size Luxury Car เป็นรถที่มีขนาดใหญ่กว่ารถยนต์ขนาดกลางทั่วไป  เช่น Mercedes-Benz E-Class, Lexus G8, Audi A6, BMW Series 5 เป็นต้น
  • Full-Size Luxury Car เครื่องยนต์ของรถยนต์ประเภท Full – Size Luxury Car ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องยนต์ขนาด 3,000 cc. ถึง 4,500 cc. มีลูกสูบตั้งแต่ V6 ไปจนถึง V12 เช่น Mercedes-Benz S-Class, Lexus LS, Audi A8, BMW Series 7, Jaguar XJ, Maserati Quttroporte เป็นต้น

Maserati Quttroporte

Sports Car

หรือเรียกง่ายๆว่า “รถสปอร์ต” นั่นเอง ส่วนใหญ่จะเป็นรถยนต์ 2 ที่นั่ง มีตัวถังที่เป็นแบบคูเป้ และแบบซีดานในบางรุ่น มีการออกแบบ โดยลดน้ำหนักของตัวถังให้เบากว่ารถปกติทั่วไป เพื่อให้มีสมรรถนะสูงยิ่งขึ้น  เช่น Toyota 86, Chevrolet Corvette, Mitsubishi Lancer Evolution, Subaru WRX STi, Subaru BR-Z เป็นต้น

Chevrolet Corvette

Grand Tourer

ถูกจัดอยู่ในประเภทรถสปอร์ต ที่มีความหรูหราและสมรรถนะที่เพิ่มขึ้นมาอีกระดับ เช่น Porsche 911, Maserati Granturismo, Aston Martin DB9, Nissan GT-R

GTR

Super Car

สำหรับ Super car จะมีเครื่องยนต์ขนาด 6 สูบขึ้นไป มีครบเครื่อง ทั้งเครื่องยนต์สมรรถนะสูง ความหรูหรา รวมถึงมีการผลิตจำนวนจำกัดอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น Lamborghini Huracan, Lamborghini Aventador, Ferrari 458 italia, Ferrari F12 หรือ McLaren MP4-12C เป็นต้น

Lamborghini Huracan

Hypercar

Hypercar จะเน้นไปที่เรื่องการทำความเร็วสูงสุด สามารถทำความเร็วได้ถึง 400 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเลยทีเดียว จุดเด่นคือ พละกำลังแรงม้าของรถที่เกิน 700-800 แรงม้า และมีบางรุ่นที่มีแรงม้าสูงถึง 1,000 แรงม้า หรือมากกว่าอีกด้วย เช่น Bugatti Veyron, Pagani Huayra, Ferrari LaFerrari, McLaren P1 เป็นต้น

McLaren P1

รถประเภท อเนกประสงค์

ปัจจุบัน ค่ายรถยนต์ชั้นนำต่างๆ มีการพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ต่อการใช้งานมากขึ้น ใช้งานได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ทั้งเดินทางไกล ขับลุยเส้นทางขรุขระ บรรทุกของ หรือบรรทุกคนจำนวนมาก จนกลายมาเป็นรถประเภท SUV, PPV, MPV และ Crossover ซึ่งรถยนต์เหล่านี้จะมีขนาดใหญ่กว่ารถเก๋งทั่วไป

SUV (Sport Utility Vehicle)

รถประเภท SUV ส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบ 5-7 ที่นั่ง  คือ รถที่มีความสมบุกสมบัน มีประโยชน์ใช้สอยมากกว่ารถยนต์ทั่วๆ ไป แต่ยังคงความสปอร์ต และความสวยงาม สามารถบรรทุกสัมภาระได้มากขึ้น รวมไปถึงสิ่งอำนวยความสะดวกสบายที่ครบครัน เช่น Honda CR-V, Mazda CX-5, Subaru XV และ Nissan X-Trail เป็นต้น

Subaru XV

PPV (Pick-Up Passenger Vehicle)

คือ รถอเนกประสงค์ ที่มีพื้นฐานมาจากรถกระบะ มีความนุ่มนวล นั่งสบาย มีการปรับเปลี่ยนช่วงล่างใหม่ ไม่ให้แข็งกระด้างแบบรถกระบะ โดยรถประเภท PPV จะเป็นชื่อที่ถูกเรียกเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น ถูกออกแบบให้รองรับผู้โดยสารได้ 7 ที่นั่ง เช่น Toyota Fortuner เป็นการนำรถกระบะ Toyota Hilux Revo มาดัดแปลง, Mitsubishi Pajero Sport ดัดแปลงมาจาก Mitsubishi Triton หรือ Isuzu MU-X มีพื้นฐานมาจาก Isuzu D-Max  

Toyota Fortuner

Crossover (Crossover Utility Vehicle)

คือ การนำพื้นฐานจากรถเก๋ง มายกสูง มีขนาดเครื่องยนต์ 1.5 ลิตร รองรับผู้ โดยสารได้ 5 ที่นั่ง ซึ่งทำให้มีความคล่องตัวกว่ารถเก๋ง มีรูปลักษณ์สปอร์ต โฉบเฉี่ยว และสามารถเก็บสิ่งของสัมภาระได้มากกว่าเดิม สิ่งที่แตกต่างระหว่าง Crossover และ SUV คือ SUV มีระบบขับเคลื่อน แบบ 4 ล้อ พร้อมตัวถังที่มีขนาดที่ใหญ่กว่า ส่วน Crossover มักจะเป็นระบบขับเคลื่อน 2 ล้อ แต่มีเป็นบางรุ่น จะมีเพิ่มระบบขับเคลื่อน 4 ล้อมาด้วย ที่สำคัญคือ ราคาที่ถูกกว่า SUV เช่น Toyota CH-R, Honda HR-V, Mazda CX-3, Mercedes-Benz GLA

Honda HR-V
credit : khaorot

MPV (Multi Purpose Vehicle)

คือ รถที่มีลักษณะคล้ายกับรถตู้ 5 ประตู ตัวถังยาว ช่วงท้ายตัด ฝากระโปรงท้ายเป็นแบบตัดตรงเหมือนรถตู้ รองรับผู้โดยสารได้ตั้งแต่ 6-11 ที่นั่ง สามารถใส่อุปกรณ์สัมภาระได้อย่างเต็มที่ มีการขับขี่ที่นุ่มนวล ด้วยระบบช่วงล่างที่เป็นแบบอิสระทั้ง 4 ล้อ ให้การทรงตัวที่ดีเยี่ยม ในบางรุ่นจะเลือกใช้ประตูสไลด์อัตโนมัติเพื่อความสะดวกสบายที่มากขึ้นอีกด้วย เช่น Toyota Alphard, Hyundai H-1, Toyota Sienta, Toyota Innova, Kia Grand Carnival และ Honda Mobilio เป็นต้น

Toyota_Alphard
credit : wikipedia

สนใจช้อปผลิตภัณฑ์จากยูคอน  ได้ที่