หาสาเหตุ ต้นตอ พวงมาลัยหนัก

หาสาเหตุ ต้นตอ พวงมาลัยหนัก

ขับรถอยู่ดีๆ ทำไมถึงรู้สึกว่าพวงมาลัยหนักๆ นะ ต้องมีอะไรผิดปกติสักอย่างแล้วล่ะ มาหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ พวงมาลัยหนัก ว่าเกิดจากอะไร และควรป้องกันแก้ไขอย่างไร

เช็คจุดน่าสงสัยที่ทำให้ พวงมาลัยหนัก

เมื่อรู้สึกว่าพวงมาลัยหนัก หมุนยากแบบผิดสังเกต จุดสำคัญๆ ที่ควรต้องเช็ค มี 2 จุดหลักๆ ดังนี้

  • ขั้วแบตเตอรี่ ดูว่าขั้วแบตหลุดหรือหลวมหรือไม่ หรืออาจมีสนิม มีขี้เกลือขึ้น ส่งผลต่อการทำงานในระบบ และส่งผลถึงระบบพวงมาลัยไฟฟ้า
  • จุดลงกราวด์ของแบตเตอรี่ขั้วลบ เนื่องจากเป็นเส้นทางเดินของกระแสไฟ หากกระแสไฟเดินไม่สะดวก ทำให้ระบบพวงมาลัยไฟฟ้าทำงานได้ไม่เต็มที่

สาเหตุของพวงมาลัยหนัก เกิดจาก

  • ระดับน้ำมันต่ำ ควรหมั่นตรวจสอบให้ปริมาณน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ว่ายังอยู่ในระดับปกติหรือไม่ หากอยู่ในระดับที่ลดลงควรเติมให้อยู่ในระดับปกติ
  • น้ำมันรั่วซึม ถ้าเช็คดูแล้วระดับน้ำมันต่ำและเมื่อเติมแล้วก็ยังเป็นอีก อาจมีน้ำมันรั่วซึมที่ไหนสักแห่ง จนทำให้น้ำมันในระบบไม่เพียงพอจนเกิดอาการพวงมาลัยหนัก ควรรีบหาจุดที่รั่วซึมเพื่อแก้ไข
  • ใช้น้ำมันผิดประเภท เช่น นำน้ำมันชนิดอื่นๆ ที่ไม่ใช่สำหรับพวงมาลัยโดยเฉพาะแล้วนำมาเติมแทน อาจมีส่วนผสมที่ไม่เหมาะสมกับการใช้งาน ควรถ่ายน้ำมันเดิมทิ้งแล้วเติมใหม่ ให้เป็นชนิดที่ถูกต้อง
  • ปั๊มไฮดรอลิคเสียหาย หากเกิดจากปั๊มไฮดรอลิคจะมีเสียงหอนดัง ต้องรื้อภายในเพื่อตรวจสอบเพื่อซ่อมปั๊ม หากอาการหนักอาจต้องเปลี่ยนปั๊มใหม่
  • มอเตอร์เสื่อมชำรุด สำหรับรถที่ใช้พวงมาลัยไฟฟ้ามอเตอร์อาจเสื่อมสภาพได้ สังเกตได้โดยเช็คจากไฟเตือนรูปพวงมาลัยบนหน้าปัดรถยนต์ ถ้ามีการแจ้งเตือนก็ควรรีบน้ำรถไปเช็ค
  • ชิ้นส่วนบางชิ้นเกี่ยวกับการบังคับเลี้ยวมีการชำรุด เช่น ลูกหมาก เป็นต้น
  • ลมยางอ่อนหรือรถไม่ได้ศูนย์ บางทียางแบนจนเกือบสัมผัสพื้น ทำให้รถหนัก บังคับพวงมาลัยลำบาก หรือรถตั้งศูนย์ไม่ดี ก็ทำให้พวงมาลัยไม่ตั้งตรง เวลาขับเอนไปทางใดทางหนึ่ง จำเป็นต้องบังคับพวงมาลัยตลอดเวลา แบบนี้ต้องรีบไปตั้งศูนย์
  • ขนาดยางรถยนต์ก็มีส่วน หากใช้ยางเกินขนาดมาตรฐานกำหนด ทำให้หน้ายางเกิดการสัมผัสพื้นถนนมากไป เวลาเลี้ยวต้องออกแรงหักพวงมาลัยมากกว่าปกติ

รถอาการพวงมาลัยหนักควรรีบเช็คและแก้ไขก่อนจะเสียเยอะ น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ รวมถึงน้ำมันของเหลวอื่นๆ ในรถต้องหมั่นดูแลอยู่เสมอด้วยเช่นกัน

สนใจช้อปผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่องยูคอน  ได้ที่