สำหรับคนที่ใช้น้ำมันเครื่องก็คงจะได้ยินคำว่า มาตรฐาน API กันมาบ้างแล้ว แต่อาจจะยังไม่รู้ว่าเป็นค่าอะไร มีรายละเอียดอะไร แล้วมีความสำคัญอย่างไรต่อการเลือกใช้งาน ดังนั้นเราจึงมาทำความรู้จักกับ มาตรฐาน API แบบเข้าใจง่ายๆ กัน
มาตรฐาน API คือ
มาตรฐาน API (American Petroleum Institute) หรือสถาบันปิโตรเลียมแห่งอเมริกา ซึ่งเป็นผู้กำหนดมาตรฐานการแบ่งเกรดน้ำมันหล่อลื่นให้เหมาะสมตามสภาพการใช้งาน โดยแบ่งออกเป็นเป็นสองประเภทหลักๆ ตามชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ ดังนี้
มาตรฐาน API ของเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซิน
สำหรับเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินจะใช้สัญลักษณ์ S (Service Stations Classifications) นำหน้า เช่น SA, SB, SC, SD, SE, SF, SG, SH, และ SJ
- SA – สำหรับใช้งานเบาไม่มีสารเพิ่มคุณภาพ
- SB – สำหรับใช้งานเบามีสารเพิ่มคุณภาพเล็กน้อย และสารป้องกันการกัดกร่อน (ไม่แนะนำให้ใช้ในเครื่องยนต์รุ่นใหม่)
- SC – สำหรับเครื่องยนต์ที่ผลิตระหว่าง คศ. 1964-1967 มีคุณภาพสูงกว่ามาตรฐาน SB เล็กน้อย
- SD – สำหรับเครื่องยนต์ที่ผลิตระหว่าง คศ. 1968-1971 มีสารคุณภาพสูงกว่า SC และมีสารเพิ่มคุณภาพมากกว่า SC
- SE – สำหรับเครื่องยนต์ที่ผลิตระหว่าง คศ. 1971-1979 มีสารเพิ่มคุณภาพเพื่อเพิ่มสมรรถนะให้สูงกว่า SD และ SC และสามารถใช้แทน SD และ SC ได้ดีกว่า
- SF – สำหรับเครื่องยนต์ที่ผลิตระหว่าง คศ. 1980-1988 มีคุณสมบัติป้องกันการเสื่อมสภาพ สามารถทนความร้อนสูงกว่า SE และมีสารชำระล้างคราบเขม่าได้ดีขึ้น
- SG – ประกาศใช้เมื่อเดือนมีนาคม คศ.1988 มีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นกว่ามาตรฐาน SF มีสารป้องกันการสึกหรอ สารป้องกันการกัดกร่อน สารป้องกันสนิม สารป้องกันการเสื่อมสภาพเนื่องจากความร้อนสารชะล้าง-ละลาย และย่อยเขม่าที่ดีขึ้น
- SH – ประกาศใช้เมื่อปี คศ.1994 เพื่อรองรับการผลิตและพัฒนาเครื่องยนต์ที่มีระบบใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ระบบ Twin Cam, Fuel Injector, Multi-Valve, Variable Valve Timing และมีการติดตั้งระบบแปรสภาพไอเสียเพิ่มขึ้น
- SJ – ประกาศใช้เมื่อ คศ.1997 เป็นมาตรฐานสูงสุดในปัจจุบัน มีคุณสมบัติทั่วไปคลายกับมาตรฐาน SH แต่จะช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ดีกว่า และยังมีค่าการระเหยตัวต่ำกว่า ลดอัตราการกินน้ำมันเครื่องลงและ มีค่าฟอสฟอรัสที่ต่ำกว่าจะช่วยให้เครื่องกรองไอเสียใช้งานได้นานขึ้น
API ของเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล
สำหรับเครื่องยนต์ที่มใช้น้ำมันเบนซินจะใช้สัญลักษณ์ C (Commercial Classifi-cations) นำหน้าเช่น CA, CB, CC, CD, CD-II, CF, CF-2, CF-4, และ CG-4
- CA – สำหรับเครื่องยนต์ที่ผลิตขึ้นระหว่าง คศ. 1910-1950 เหมาะกับเครื่องยนต์ที่ใช้งานเบา มีสารเพิ่มคุณภาพเล็กน้อย
- CB – ประกาศใช้เมื่อ คศ. 1949 สำหรับเครื่องยนต์ธรรมดา ใช้กับงานเบาปานกลาง มีสารคุณภาพสูงกว่า CA
- CC – ประกาศใช้เมื่อ คศ. 1961 สำหรับเครื่องยนต์ที่ติดซุปเปอร์ชาร์จหรือเทอร์โบ ซึ่งมีคุณภาพสูงกว่า CB โดยเพิ่มคุณสมบัติในการป้องกันคราบเขม่า มีสารป้องกันสนิมและกัดกร่อน ไม่ว่าเครื่องยนต์จะร้อนหรือเย็นจัดก็ตาม
- CD – ประกาศใช้เมื่อ คศ.1955 สำหรับเครื่องยนต์ที่ติดซุปเปอร์ชาร์จหรือเทอร์โบที่ใช้งานหนักและรอบจัด มีคุณภาพสูงกว่า CC
- CD-II – ประกาศใช้เมื่อ คศ. 1988 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล 2 จังหวะ ส่วนใหญ่เป็นเครื่องยนต์ดีทรอยด์ที่ใช้ในกิจการทางทหาร
- CE -ประกาศใช้เมื่อ คศ.1983 สำหรับเครื่องยนต์ที่ติดซุปเปอร์ชาร์จหรือเทอร์โบที่ใช้งานหนักและรอบจัด มีคุณภาพสูงกว่า CD ป้องกันการกินน้ำมันเครื่องได้อย่างดีเยี่ยม
- CF – ประกาศใช้เมื่อ คศ. 1994 เป็นมาตรฐานสูงสุดในเครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบัน สำหรับเกรดธรรมดา(Mono Grade) เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลทุกชนิด ไม่ว่าจะใช้งานหนักหรือเบา โดยใช้แทนในมาตรฐานที่รองลงมา เช่น CE, CD, CC ได้ดีกว่า
- CF-2 – ประกาศใช้เมื่อ คศ. 1994 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรุ่นใหม่ 2 จังหวะ ส่วนใหญ่เป็นเครื่องยนต์ดีทรอยด์ที่ใช้ในกิจการทางทหาร
- CF-4 – ประกาศใช้เมื่อ คศ. 1990 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรุ่นใหม่ 4 จังหวะ ที่ติดซุปเปอร์ชาร์จหรือเทอร์โบที่ใช้งานหนักและรอบจัด เป็นน้ำมันเครื่องเกรดรวม สามารถป้องกันการกินน้ำมันเครื่องได้ดีเยี่ยม
- CG-4 – ประกาศใช้เมื่อ ค.ศ. 1996 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรุ่นใหม่ 4 จังหวะ ซึ่งเป็นมาตรฐานสูงสุดในในปัจจุบัน เป็นน้ำมันเครื่องเกรดรวม
เลือกใช้ค่ามาตรฐาน API อย่างไรให้เหมาะกับรถ
- ดูง่ายๆ คือ ถ้าเป็นน้ำมันเบนซินเป็นค่า C นำหน้า ส่วนน้ำมันดีเซลเป็นค่า S นำหน้า
- ตัวอักษรที่อยู่ด้านหลัง A-Z ตัวมากกว่าคือมาตรฐานสูงกว่า คุณภาพดีกว่า