เครื่องยนต์ 4 จังหวะ คืออะไร

เครื่องยนต์ 4 จังหวะ คืออะไร?

ตามหลักการทำงานของเครื่องยนต์ส่วนใหญ่ จะเป็น เครื่องยนต์ 4 จังหวะ ซึ่งจะมีจังหวะในการทำงานของกระบอกสูบ เพื่อให้เกิดการสันดาป และส่งเป็นพลังงานภายในเครื่องยนต์ ประกอบไปด้วยจังหวะ ดูด อัด ระเบิด คาย 

หลักการทำงานของ เครื่องยนต์ 4 จังหวะ

ในการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะนั้น จะมีรอบการทำงานเป็น Cycle โดยเพลาข้อเหวี่ยงจะหมุน 2 รอบ ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของลูกสูบขึ้นลง 4 ครั้ง โดยเคลื่อนขึ้น 2 ครั้ง ลง 2 ครั้ง การที่ลูกสูบขึ้นลง 4 ช่วงชัก ทำให้เกิดการทำงานขึ้น 4 จังหวะ โดยมีหลักการทำงานดังนี้

จังหวะ1 : ดูด (Intake)

จังหวะแรกคือ จังหวะดูด เมื่อลูกสูบเริ่มเคลื่อนที่ลงมาด้านล่าง จะดูดเอาไอดี ซึ่งก็คือส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศเข้ามากระบอกสูบ (สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลจะดูดเฉพาะอากาศไม่มีเชื้อเพลิง)  โดยผ่านลิ้นไอดีที่จะเปิดอยู่ จนดูดมาถึงปลายล่าง (ศูนย์ตายล่าง) แล้วลิ้นไอดีถึงจะปิด

จังหวะ2 : อัด (Compression)

จังวะที่สอง จังหวะอัด ลูกสูบเริ่มเลื่อนขึ้นไปข้างบน ทั้งลิ้นไอดีและลิ้นไอเสียจะปิด ไอดีที่ถูกดูดเข้ามาจนเต็มกระบอกสูบนั้นจะถูกอัดเข้าไปจนใกล้ถึงข้างบน (ศูนย์ตายบน) เมื่ออัดได้ที่แล้ว อุณหภูมิของไอดีที่ถูกอัดจะสูงมาก หากเป็นเครื่องยนต์เบนซินจะถูกจุดโดยหัวเทียน ส่วนเครื่องบนต์ดีเซลจะมีการฉีดเชื้อเพลิงเข้ามาเพื่อให้เกิดการเผาไหม้

จังหวะ3: ระเบิด (ignite)

เมื่อปล่อยให้เกิดการเผาไหม้เกิดขึ้น จะถึงจังหวะระเบิด คือมีแรงดันที่เกิดจากการเผาไหม้นั้น การระเบิดนี้จะดันลูกสูบให้เลื่อนลงมาจนถึงศูนย์ตายล่าง เมื่อลูกสูบเลื่อนลงมา เพลาข้อเหวี่ยงจะเกิดการหมุนเครื่องยนต์ เกิดพลังงานขึ้น เป็นการแปลงพลังงานความร้อนเป็นพลังงานกล พร้อมกับลิ้นไอเสียจะเริ่มเปิดออก

จังหวะ4 : คาย (Exhaust)

จังหวะสุดท้าย จังหวะคาย จะเป็นจังหวะที่ลูกสูบเริ่มเคลื่อนตัวขึ้นด้านบน โดยเป็นการดันเอาไอเสียที่ผ่านการระเบิดแล้ว ให้ออกสู่ภายนอก โดยผ่านลิ้นไอเสียที่เปิดอยู่ จนกระทั่งลูกสูบเคลื่อนตัวผ่านศูนย์ตายบนไปแล้ว ลิ้นไอเสียจะปิด และกลับมาเริ่มกระบวนการดูดใหม่ในจังหวะแรกของ cycle

เกี่ยวกับ ไอดี ไอเสีย

  • ไอดี คือ ส่วนผสมของไอระเหยหรือละอองเชื้อเพลิงผสมกับอากาศ ที่ถูกดูดเข้ากระบอกสูบผ่านลิ้นไอดี เพื่อให้ถูกอัดจนมีอุณหภูมิสูง แล้วไปจุดระเบิด เกิดแรงดันเพื่อให้เครื่องยนต์ทำงาน
  • ไอเสีย คือ ไอที่เกิดขึ้นหลังกระบวนการระเบิดเรียบร้อยแล้ว พร้อมส่งออกสู่ภายนอก ผ่านลิ้นไอเสีย

ข้อดี ข้อเสีย ของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ

  • ข้อดี เป็นกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูง ไม่สิ้นเปลืองพลังงาน และปล่อยมลพิษออกมาต่ำ
  • ข้อเสีย จะมีกระบวนการทำงานที่ซับซ้อนกว่าเครื่องยนต์สองจังหวะ มีชิ้นส่วนที่มากกว่า อาจดูแลรักษาได้ยากกว่า
  • ทั้งนี้ ในรถยนต์ขับใช้ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะเป็นเครื่องยนต์ 4 จังหวะ เพราะการทำงานที่ดีกว่านั่นเอง

ได้รู้จักกับกระบวนการของเครื่องยนต์กันแล้ว อย่าลืมดูแลตรวจเช็คน้ำมันเครื่องและเปลี่ยนถ่ายตามระยะ

สนใจช้อปผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่องยูคอน ได้ที่